ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
เมนูหลัก
ประวัติความเป็นมา
ติดต่อสอบถาม
หนังสือ
เอกสารยื่น ศ.ต.ภ.
พระพุทธรูป, ศิลปะคันธาระ, ศิลปะคุปตะ, ศิลปะปาละ, ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
พระพุทธรูป
ศิลปะคันธาระ
ศิลปะคุปตะ
ศิลปะปาละ
ข้อมูลอินเดียแดนพุทธภูมิ
ข้อมูลแดนพุทธภูมิ
แผนที่แดนพุทธภูมิ
พุทธคยา
ราชคฤห์-นาลันทา
ปัตนะ
ไวสาลี
เกสริยา
กุสินารา
กบิลพัสดุ์
กบิลพัสดุ์ ฝั่งอินเดีย
นิโครธาราม
รามคามสถูป นครเทวทหะ
ลุมพินี
สาวัตถี
สังกัสสนคร
สารนาถ
โกสัมพี
แคว้นอวันตี
Flag Counter
ข้อมูลอินเดีย
ข้อมูลพุทธสถาน
สาญจี
ถ้ำอชันตา
ถ้ำเอลโลร่า
ถ้ำออรังกาบัด
ถ้ำกัณเหรี
อโยธยา
ข้อมูลอินเดีย
ข้อมูลอินเดีย
นิวเดลี
อัครา
ฟาเตห์ปูร์ สิครี
ราชสถาน
หริทวาร, ฤาษีเกษ
จัมมู - แคชเมียร์
เลห์-ลาดักห์
อัมริตสาร์
มะนาลี-ชิมลา
ดารัมชาลา
เมืองลัคเนา
โกลกาตา
สะสาราม
พาราณสี
นิลกาย
มุมไบ
ข้อมูลอินใต้
ข้อมูลอินเดียใต้
รัฐเตลังคานา
เมืองกาญจีปุรัม
ฮัมปิ
ข้อมูลศรีลังกา
ข้อมูลศรีลังกา
ไหว้พระศรีลังกา
ข้อมูลอินโดนีเซีย
ข้อมูลอินโดนีเซีย
บุโรพุทโธ บาหลี
ข้อมูลพม่า
ข้อมูลพม่า
ย่างกุ้ง/ ไจโท้/หงสา/ สิเรียม
มัณฑะเลย์/พุกาม/อินเล/
ข้อมูลสิงคโปร์
ข้อมูลสิงคโปร์
สิงคโปร์
ข้อมูลมาเลเซีย
ข้อมูลมาเลเซีย
มาเลเซีย
ข้อมูลกัมพูชา
ข้อมูลกัมพูชา
เสียมเรียบ/นครวัด/นครธม
ข้อมูลลาว
ข้อมูลลาว
เวียงจันทร์/วังเวียง
หลวงพระบาง
ลาวใต้
ข้อมูลลาว
ข้อมูเวียดนาม
ฮานอย/ซาปา
ดานัง
โฮจิมินห์
ข้อมูลอินเดีย
โปรแกรมทัวร์ เดินทางคนเดี่ยว
สี่สังเวชฯ+อัครา+ราชสถาน+เดลี(21วัน)
สี่สังเวชฯ+สาญจี+อชันตา+เอโลร่า+มุมไบ (14วัน)
สี่สังเวชฯ+อัครา,ทัชมาฮาล+จัยปูร์+เดลี(11วัน)
ข้อมูลลาว
ข้อมูลทวีปยุโรป
กรุงเทพ-ลอนดอน
อิตาลี
อังกฤษ
พุทธคยา (Bodh Gaya)


พระมหาเจดีย์พุทธคยา

ภาพเก่า : พุทธคยาก่อนบูรณะ



ภาพเก่า: พุทธคยาก่อนบูรณะ

ภาพเก่า: พุทธคยาก่อนบูรณะ

ภาพเก่า by J. D. Beglar in 1870 : พุทธคยาก่อนบูรณะ ซุ้มประตูด้านหน้าประตูทางเข้า การมีใช้หินก่อสร้าง และมีดินปกคลุมองค์พระมหาเจดีย์พุทธคยา

ภาพเก่า : กำแพงหินเก่าล้อมต้นพระศรีมหาโพธิ์ และพระมหาเจดีย์ (Bodh Gaya)

พระพุทธเก่าตั้งอยู่บนผนังมหาโพธิวิหาร (Bodh Gaya)

ภาพเก่า รัฐพิหาร 1927 : ด้านหน้าของพระมหาเจดีย์พุทธคยา ผู้แสวงเป็นชายวัยสูงอายุนั่งอยู่ด้านพระพุทธรูปปางยืน กำลังอ่านและเขียนงานศักดิ์สิทธิ์

พุทธคยา ถือว่าเป็นสถานที่สำคัญที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก เป็นศูนย์รวมของการจาริกแสวงบุญจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วโลก รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั่วโลก และพุทธคยาได้รับการยกย่องจากองค์การยูเนสโก UNESCO ให้เป็นมรดกโลก ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ. 2545
พุทธคยาเป็นสังเวชนียสถานแห่งที่ ๒ คือสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในอาณาบริเวณพุทธคยาจะมีวัดชาวพุทธเป็นจำนวนมากร่วมทั้งประเทศไทย ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา 350 เมตร ห่างจากตลาดคยา (Gaya Maket) ๑๕ กิโลเมตร


ก่อนตรัสรู้เรียกว่า พระโพธิสัตว์ แปลว่า ผู้ข้องอยู่ในความรู้ อันหมายความว่า ไม่ทรงข้องอยู่ในสิ่งอื่น ข้องอยู่แต่ในความรู้ จึงทรงแสวงหาความรู้จนได้ตรัสรู้ จึงเรียกว่า พุทธะ ที่แปลว่า ผู้รู้ หรือ ตรัสรู้ เราเรียกกันว่า พระพุทธเจ้า พระองค์ได้ตรัสรู้ที่ภายใต้ต้นไม้ชื่อว่า อัสสัตถะ ต่อมาก็เรียกว่า ต้นโพธิ์ คำว่า โพธิ แปลว่า ตรัสรู้
พระมหาบุรุษตรัสรู้ เรียกว่า โพธิญาณ ต้นไม้ที่ตรัสรู้เรียกว่า โพธิ์ หรือต้นพระศรีมหาโพธิ์
หลังจากตรัสรู้จึงเรียก บริเวณสถานที่นี้ว่า พุทธคยา
อัสสัถพฤกษ์, อัสสัตถ แปลว่า ร่มรื่น เป็นที่ชื่นใจ
โบดิ (Bodhi) (เป็นการเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรโรมัน สมาคมบาลีปกรณ์ในยุโรปได้พัฒนาการใช้อักษรละตินเพื่อเขียนภาษาบาลี หรือเรียกบาลีอักษรโรมัน) พุทฺธคยา เป็นภาษาบาลี
โบดห์กายา (Bodh Gaya) เป็นภาษาอังกฤษ, หรือเรียกว่าวัดมหาโบดิ (Mahabodhi Temple) บางคนเรียกเมนเทมเปิล (Main Temple)

กลิงคโพธิชาดก พุทธคยาเป็นพุทธมณฑลถือว่าเป็นประดุจเหมือน ปฐวีนาภี สะดือของโลก เป็นจุดศูนย์กลางของโลก และห่างจากต้นศรีมหาโพธิ ๑ กรีส จะไม่พืชพันธ์ุใดๆ เกิดขึ้น แต่ถัดไปจะปรากฏพืชนานาชนิดที่อุดมสมบูรณ์ชุ่มชื้นเขียวขจี มหาเทพหรือเทพทั้งหลาย ตลอดจนท้าวสักกเทวราช ไม่สามารถเหาะหรือข้ามผ่านไปได้

อัคคัญญสูตร อัคคัญญสูตรได้กล่าวไว้ว่า มีพรหมจากชั้นอาภัสราพรหมได้ลงมากินง้วนดินในบริเวณแห่งนี้ และเป็นจุดกำเนิดมนุษย์ เนื่องจากแผ่นดินอินเดียถูกคุกคามจากสงคราม การเสื่อมของพระพุทธศาสนา พุทธคยาจึงถูกปล่อยทิ้งร้าง ฮินดูเข้าครอบครอง นำมหาโพธิเจดีย์เป็นเทวสถาน พุทธคยาถูกชาวฮินดูครอบครอง เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. ๒๑๓๓ นักบวชฮินดูชื่อ โคเสนฆมัณฑิคีร์ ได้ตั้งสำนักเล็ก ๆ ใกล้กับ พระมหาโพธิเจดีย์ ในปัจจุบันผู้นำของมหันต์องค์ที่ ๑๕

พ.ศ. ๒๔๑๗ พระเจ้ามินดง กษัตริย์แห่งพม่า ได้ส่งคณะทูตมายังอินเดียเพื่อขอบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารและจัดการบางประการเพื่อดูแลรักษาพุทธสถานแห่งนี้ เมื่อได้รับความยินยอมจากพวกมหันต์และรัฐบาลอินเดีย จึงได้เริ่มทำการบูรณะ ทางรัฐบาลอินเดียได้ส่ง นายพล เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม กับ ด.ร.ราเชนทรลาละ มิตระ เข้าเป็นผู้ดูแลกำกับการบูรณะ หลังจากนั้นคณะผู้แทนจากพม่าจำเป็นต้องเดินทางกลับ ทางรัฐบาลอินเดียจึงรับงานบูรณะ ทั้งหมดมาทำแทน และเสร็จสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. ๒๔๒๗

จนในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ รัฐบาลอินเดีย โดยการนำของ ฯพณฯ เยาวหราล เนห์รู นายกรัฐมนตรีแห่งอินเดีย ได้เฉลิมฉลองพุทธชยันตี (วิสาขบูชา) โดยเชิญชวนประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั่วโลก มาสร้างวัดไว้ในดินแดนพุทธภูมิ ประเทศไทยโดยการนำของจอมพล แปลก พิบูลสงคราม ได้ตอบรับและดำเนินการสร้างวัดชื่อว่า วัดไทยพุทธคยา

ดงคสิริ สถานที่บำเพ็ญทุกกรกิริยา
ดงคสิริเป็นสถานที่ ที่พระมหาบุรุษทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาห่างจากเจดีย์ พุทธคยาประมาณ 10 กิโลเมตร เป็นภูเขาลูกใหญ่ มีถ้ำภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางบำเพ็ญทุกรกิริยา บริเวณบรรยากาศเงียบสงบบนเชิงเขาได้มีวัดธิเบตมาสร้างไว้ หลักการบำเพ็ญทุกกรกิริยาคือทรมาน

พุทธประวัติ :

ทรงสัญญากับพระเจ้าพิมพิสาร
หลังจากบรรพชา เสด็จพักแรม ณ อนุปิยอัมพวัน แคว้นมัลละ เป็นเวลา ๗ วัน จากนั้นเสด็จไปยังแคว้นมคธ ประทับที่ภูเขาปัณฑวะ พระพุทธเจ้าก่อนยังไม่ได้ตรัสรู้จะเรียกว่า พระมหาบุรุษ พระเจ้าพิมพิสาร ทราบข่าวจึงเสด็จไปยังภูเขาปัณฑวะ ชักชวนพระมหาบุรุษให้มาครองราชสมบัติด้วยกัน พระมหาบุรุษทรงปฏิเสธ พระเจ้าพิมพิสารทูล ขอปฏิญญาว่า “ถ้าตรัสรู้แล้ว ขอให้เสด็จมาเทศนาโปรดข้าพระองค์ด้วย” พระมหาบุรุษรับปฏิญญาทุกประการ

ทรงศึกษาในสำนักอาฬารดาบส และอุทกดาบส
ทรงศึกษาในสำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร ได้สมาบัติ ๗ และ อุทกดาบส รามบุตร ได้สมาบัติ ๘ (รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔) เมื่อไม่ใช่หนทางตรัสรู้จึงลาจากอาจารย์

บำเพ็ญทุกกรกิริยา
พอถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม บำเพ็ญทุกกรกิริยาคือการทรมาน ร่างกาย ๓ วาระ
๑. กัดฟันด้วยฟัน เอาลิ้นกดเพดาน จนเหงื่อไหลออกทางรักแร้
๒. กลั้นลมหายใจเข้าออก จนเสียงดังอื้อในหู ทำให้ปวดศีรษะ เสียดท้อง ร้อนในพระวรกาย
๓. ฉันทีละน้อย จนอดอาหารในที่สุด พระวรกายซูบผอม กระดูกปรากฏทั่วกาย เมื่อลูบขนหลุดร่วง

พิณ ๓ สาย
ท้าวสักกเทวราชทราบความดำริ จึงดีดพิณให้ฟัง มี ๓ สาย
สายที่ ๑ ตึงเกินไป พอดีดก็ขาด
สายที่ ๒ หย่อน พอดีดไม่เกิดเสียง
สายที่ ๓ ไม่ตึง ไม่หย่อน พอดีดเสียงไพเราะจับใจ
ทรงพิจารณาการบำเพ็ญทุกกรกิริยาเปรียบกับเสียงพิณ

เกิดอุปมา ๓ ข้อ
ครั้งนั้นอุปมา ๓ ข้อปรากฏแก่พระองค์ คือ
๑. สมณพราหมณ์เหล่าใด มีกายและใจยังไม่หลีกออก จากกาม พอใจ รักใคร่ในกาม ใจยังไม่สงบระงับ แม้จะบำเพ็ญเพียร จนได้รับทุกขเวทนาอย่างหนัก หรือมิได้รับก็ตาม ก็ไม่อาจจะตรัสรู้ได้ เหมือนไม้สดที่แช่น้ำ ยากที่จะสีให้เกิดไฟได้
๒. สมณพราหมณ์เหล่าใด มีกายหลีกออกจากกาม แต่ยังพอใจ รักใคร่ในกาม ใจยังไม่สงบระงับ แม้จะบำเพ็ญเพียรจนได้รับทุกขเวทนาอย่างหนัก หรือมิได้รับก็ตาม ก็ไม่อาจจะตรัสรู้ได้ เหมือนไม้สดที่อยู่ บนบก ยากที่จะสีให้เกิดไฟได้
๓. สมณพราหมณ์เหล่าใด มีกายหลีกออกจากกาม ละความพอใจ รักใคร่ในกาม ใจสงบระงับ แม้จะบำเพ็ญเพียรจนได้รับทุกขเวทนา อย่างหนัก หรือมิได้รับก็ตาม ย่อมตรัสรู้ได้ เหมือนไม้แห้งที่อยู่บนบก ย่อมสีให้เกิดไฟได้
เมื่อมิใช่ทางตรัสรู้ จึงละทิ้งการบำเพ็ญทุกกรกิริยา เพื่อบำเพ็ญ ทางใจ และกลับเสวยพระกระยาหารใหม่
ปัญจวัคคีย์ ๕ คือ โกณทัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ อัสสชิ เฝ้ารับใช้พระมหาบุรุษ หวังจะได้บรรลุธรรมตามพระองค์
พอเห็นพระมหาบุรุษฉันอาหารพากันคิดว่า “พระมหาบุรุษละจากความเพียรเวียนมาเป็นผู้มักมาก” พากันหนีละทิ้งพระองค์ไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี

สุชาดาสถูป (Sujata Stupa)
สมัยก่อนคนไทยก็จะมาดูเนินดินบ้านนางสุชาดา ต่อมาทางการได้ขุดค้นพบสถูปก็เลยทำการบูรณะให้ดีกว่าเดิม นางสุชาดาคือ ผู้ถวายข้าวมธุปายาสแก่พระมหาบุรุษ ก่อนการตรัสรู้ ทานที่นางได้ถวายมีผล อย่างมาก นางเป็นลูกสาวของเศรษฐีในตำบลอุรุเวลา ได้บนบานที่ต้นไทรไว้ บัดนี้ความปรารถนาของนางสำเร็จจึงใคร่แก้บนด้วยการถวายข้าวมธุปายาส ปัจจุบัน บ้านนางสุชาดาเป็นสถูปก่อด้วยอิฐมีต้นโพธิ์ผุดขึ้นตรงกลางพระสถูป พุทธประวัติ :
นางสุชาดาถวายข้าวมธุปายาส
ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ นางสุชาดา ธิดาเศรษฐี แห่งอุรุเวลาเสนานิคม จะทำการบวงสรวง (แก้บน) เทวดาว่า
๑. ขอให้ได้สามีตระกูลเสมอตน
๒. ขอให้บุตรคนแรกเป็นชาย
บัดนี้ความปรารถนาสำเร็จทุกประการ สั่งให้นางทาสีไปทำความ สะอาดบริเวณใต้ต้นไทร ได้เห็นพระมหาบุรุษ สำคัญว่าเป็นเทวดา จึงรีบมาแจ้งให้กับนางสุชาดาทราบ นางจึงนำถาดข้าวมธุปายาสไปยังต้นไทร จึงน้อมถวาย พระองค์ทรงรับด้วยพระหัตถ์ แล้วทรงปั้นได้ ๔๙ ก้อน เสวยจนหมด ถือถาดทองคำมุ่งหน้าสู่แม่น้ำเนรัญชรา

ท่าสุปปติฏฐะ ท่าสุปปติฏฐะ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเนรัญชรา อยู่ตรงข้ามพระเจดีย์-มหาโพธิ เชื่อกันว่าพระมหาบุรุษได้อธิษฐานลอยถาดทอง

พุทธประวัติ :
ถือถาดทองคำมุ่งหน้าสู่แม่น้ำเนรัญชรา ทรงอธิษฐานว่า “ถ้าจะได้ตรัสรู้ ขอให้ถาดนี้ จงลอยทวนกระแสน้ำ” ด้วยอำนาจแห่งโพธิญาณ ถาดทองคำได้ลอยทวนกระแสน้ำไปไกล ๘๐ ศอก แล้ว จมลงสู่นาคพิภพซึ่งเป็นที่อยู่ของกาฬพญานาค ทรงมั่นพระทัยว่าจะได้ตรัสรู้จึงทรงสนานพระวรกาย พักผ่อนจนถึงเวลาเย็น

โสตถิยพราหมณ์ถวายหญ้ากุสะ ในระหว่างทางพระมหาบุรุษทรงรับหญ้ากุสะจากโสตถิยพราหมณ์ ๘ กำมือ ที่ได้น้อมถวายด้วยความศรัทธา

กาฬพญานาค ถาดนั้นจึงจมดิ่งหายไปจนถึงพิภพของกาฬนาคราชกระทบกับถาดสามใบของพระพุทธเจ้าในอดีตสามพระองค์เสียงดังกริ๊ก พระพุทธเจ้าในอดีตสามพระองค์นั้นคือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมน์ และพระกัสสปะ พระมหาบุรุษกำลังจะเป็นองค์ที่ ๔ กาฬนาคราชหลับมาตั่งแต่สมัยพระพุทธเจ้าในอดีต จะตื่นทุกครั้งที่ได้ยินเสียงถาด พอได้ยินก็รู้ได้ว่าพระพุทธเจ้าองค์ใหม่เกิด ในโลกแล้ว คราวนี้ก็เหมือนกัน เมื่อได้ยินเสียงถาดของพระมหาบุรุษก็งัวเงียขึ้นแล้วงึมงำว่า “เมื่อวานนี้พระชินสีห์ (หมายถึงพระกัสสปพุทธเจ้า) อุบัติในโลกพระองค์หนึ่งแล้ว ซ้ำบังเกิดอีกพระองค์หนึ่งเล่า” ลุกขึ้นมาไหว้พระพุทธเจ้าเกิดใหม่ แล้วก็หลับต่อไปอีก

แม่น้ำเนรัญชรา แม่น้ำเนรัญชราอยู่ห่างต้นพระศรีมหาโพธิ์ประมาณ ๒๐๐ เมตร เป็นแม่น้ำสายสำคัญ เพราะว่าเป็นสถานที่ลอยถาด และสรงสนาน พระวรกายพระมหาบุรุษก่อนตรัสรู้ ปัจจุบันไม่มีน้ำมีแต่ทราย จะมีน้ำเฉพาะในช่วงเข้าพรรษาหรือฤดูฝน ต้นน้ำไหลมาจากเมืองฮาซาริบัฆ มี ๒ สาย คือ เนรัญชรา และ โมหะนี มาบรรจบกัน เรียกใหม่ว่า ผัลคุ หัวหน้าชฎิลสามพี่น้อง นับถือลัทธิบูชาไฟ ได้อาศัยตามคุ้งแม่น้ำเนรัญชราติดต่อกัน เนลํ ชลํ อสฺสา แปลว่า น้ำเป็นที่ชื่นใจ, นีลชลายาติ วตฺตพฺเพ เนรญฺ ชรายาติ วตฺติ แปลว่า น้ำซึ่งมีสีเขียว ปัจจุบันเรียกว่า นีลาชนา, ลีลาชนา


ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (Maha bodhi tree): ผู้คนมากมายมาบูชาต้นโพธิ์
ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (Maha bodhi tree):ชาวพุทธโลกทำวัตรเย็น ใต้ต้นโพธิ์

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (Maha bodhi tree):บวชใต้ต้นโพธิ์


ต้นพระศรีมหาโพธิ์ (Bodhi Tree)
ต้นพระศรีมหาโพธิเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในภัทรกัปนี้จะมีพระพุทธเจ้าถึง ๕ พระองค์ที่ตรัสรู้ ณ สถานที่แห่งนี้ ตรัสรู้ภายใต้ต้นไม้ที่ต่างสายพันธ์ ต่างลักษณะ ต่างชนิด พอคนเห็นต้นไม้ที่พระองค์ตรัสรู้จะเรียกว่า ต้นโพธิ มาจากคำว่า โพธิรุกขะ = โพธิ ตรัสรู้, รุกขะ ต้นไม้ แปลว่า ต้นไม้อันเป็นที่ตรัสรู้
พระพุทธเจ้า พระนามว่า กกุสันธะ ตรัสรู้ภายใต้ต้นสิรีสะ (ต้นซึก)
พระพุทธเจ้า พระนามว่า โกนาคมนะ ตรัสรู้ภายใต้ต้นมะเดื่อ
พระพุทธเจ้า พระนามว่า กัสสปะ ตรัสรู้ภายใต้ต้นนิโครธ (ต้นไทร)
พระพุทธเจ้า พระนามว่า โคตมะ ตรัสรู้ภายใต้ต้นอัสสัตถะหรือ โพธิ์พฤกษ์
พระพุทธเจ้า พระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรย ตรัสรู้ภายใต้ต้นกากะทิง หรือคนไทยเรียกว่า ต้นทองพลาง

ความแตกต่างกันแห่งโพธิพฤกษ์
ความแตกต่างกันแห่งโพธิพฤกษ์ คือต้นไม้ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้
พระผู้มีพระภาคเจ้าทีปังกร มีโพธิพฤกษ์ ชื่อ กปิตนะ (มะขวิด)
พระผู้มีพระภาคเจ้าโกณฑัญญะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสาลกัลยาณี (ขานาง)
พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ พระโสภิตพุทธเจ้า มีโพธิพฤกษ์ ต้นนาคะ (กากะทิง)
พระอโนมทัสสี มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัชชุนะ (ต้นกุ่ม)
พระปทุมะ และพระนารทะ มีโพธิพฤกษ์ ชื่อ ต้นมหาโสณะ (ต้นอ้อยช้างใหญ่)
พระปทุมุตตระ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสาละ (ต้นช้างน้าว)
พระสุเมธะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นนีปะ (ต้นกะทุ่ม)
พระสุชาตะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นเวฬุ (ต้นไผ่)
พระปิยทัสสี มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นกกุธะ (ต้นกุ่ม)
พระอัตถทัสสี มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นจัมปกะ (ต้นจำปา)
พระธัมมทัสสี มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นรัตตกุรวกะ (ต้นซ้องแมวแดง)
พระสิทธัตถะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นกณิการะ (กรรณิการ์)
พระติสสะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอสนะ (ต้นประดู่)
พระปุสสะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอามลกะ (มะขามป้อม)
พระวิปัสสี มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นปาฏลี (แคฝอย)
พระสิขี มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นปุณฑรีกะ (มะม่วงป่า)
พระเวสสภู มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสาละ (สาละ)
พระกกุสันธะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นสรีสะ (ต้นซึก)
พระโกนาคมนะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอุทุมพร (มะเดื่อ)
พระกัสสปะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นนิโครธ (ต้นไทร)
พระโคตมะ มีโพธิพฤกษ์ชื่อ ต้นอัสสัตถะ (ต้นโพธิใบ)
ในบาลีพุทธวงศ์ ข้อ ๑๖ ว่า ต้นพิมพิชาละ คือ ต้นมะกล่ำเครือ

ทรงตรัสรู้
นำหญ้ากุสะไปปูลาดทำให้เป็นบัลลังก์ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ทรงประทับนั่งบนบัลลังก์ แล้วทรงตั้งสัตยาธิษฐานว่า “ถ้ามิได้ตรัสรู้ จะไม่ลุกขึ้นจากโพธิบัลลังก์ ถึงแม้เนื้อและเลือดจะเหือดแห้งไปก็ตาม” พระยาวัสสวัตดีมารเกรงว่าพระมหาบุรุษจะพ้นจากอำนาจของตน จึงได้ยกพลเสนามารมาผจญ โดยการแสดงอิทธิปาฏิหารย์ด้วยประการต่างๆ เพื่อจะให้พระองค์ตกพระทัยกลัว และเสด็จลุกจากรัตรบัลลังก์หนีไป พระมหาบุรุษทรงระลึกถึงบารมี ๑๐ ทัศ นางวสุนธราแม่พระธรณีมาเป็นสักขีพยาน จนทำให้พระยามารพ่ายแพ้ไป เมื่อพระยามารหนีกลับแล้ว พระมหาบุรุษทรงตั้งความเพียรดำรง
พระสติตามอารมณ์เฉพาะหน้า มีพระทัยดิ่งสู่สมาธิแล้วทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณตามลำดับดังนี้
ปฐมยาม บรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ทรงมีญาณ ระลึกชาติได้
มัชฌิมยาม บรรลุจุตูปปาตญาณ คือ ญาณรู้การเกิดและตาย ของสัตว์ทั้งหลายได้
ปัจฉิมยาม บรรลุอาสวักขยญาณ คือทำหลายอาสวกิเลส ให้หมดสิ้นไป อันเป็นการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณอย่างสมบูรณ์
พระมหาบุรุษทรงมีพระนามพิเศษว่า อรหัง เพราะพระองค์ทรงห่างไกลจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง และทรงพระนามว่า สัมมาสัม พุทโธ

สหชาติทั้ง ๗
สหชาติ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นร่วมในวันเวลาเดียวกันกับพระโพธิสัตว์ มี ๗ ประการ คือ
๑. พระนางพิมพาหรือยโสธรา
๒. พระอานนท์
๓. กาฬุทายีอำมาตย์
๔. นายฉันนะ
๕. ม้ากัณฐกะ
๖. ต้นพระศรีมหาโพธิ์
๗. ขุมทรัพย์ทั้ง ๔ คือ สังขนิธิ เอลนิธิ อุบลนิธิ และปุณฑริกนิธิ

อายุของต้นพระศรีมหาโพธิ์
ต้นที่ ๑ เป็นต้นที่เกิดวันเดียวกันกับเจ้าชายสิทธัตถะ หรือที่เรียกว่า สหชาติทั้ง ๗ มหิสุนทรี (พระนางติษยรักษิต) เป็นพระมเหสีของพระเจ้าอโศกมหาราชอีกพระองค์หนึ่ง พระนางโกรธแค้นมากที่พระเจ้าอโศกรักต้นโพธิ์มากกว่านาง นางจึงสั่งให้คนนำยาพิษและน้ำร้อนมารดที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ จนทำให้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ได้เหี่ยวเฉาและแห้งตายในที่สุด มีอายุประมาณ ๓๕๒ ปี

ต้นที่ ๒ พอพระเจ้าอโศกกลับมาจากว่าราชการ พระองค์เห็นต้นพระศรีมหาโพธิเหี่ยวแห้งตายลงพระองค์ถึงกับเข่าอ่อนล้มลงหมดสติพอพระองค์ฟื้นได้สติ รับสั่งให้ล้อมกำแพงรอบ สั่งทหารให้นำน้ำนมโค ๑๐๐ ตัว มารดต้นพระศรีมหาโพธิ และได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า “ถ้าหน่อโพธิ์ไม่แตก งอกออกมาพระองค์จะไม่เสด็จลุกขึ้น” ด้วยแรงสัจจะอธิษฐาน ทันใดนั้นหน่อโพธิ์ได้งอกมาเป็นหน่อที่สอง มีอายุราวประมาณ ๘๗๑ - ๘๙๑ ปี

ต้นที่ ๓ พ.ศ. ๑๑๐๐ พระเจ้าศศางกา กษัตริย์จากเบงกอล ได้ยกทัพมาที่พุทธคยา เห็นผู้คนไปกราบไหว้ต้นโพธิ์ เกิดความไม่ชอบไม่พอใจจึงได้ทำลายวัดวาอาราม และต้นพระศรีมหาโพธิ์ถอนรากทิ้ง ใช้ไฟเผาราดด้วยน้ำอ้อย พระเจ้าปุรณวรมากษัตริย์แห่งมคธทรงเศร้าโศกเสียพระทัยอย่างมากที่เห็นต้นโพธิล้มตาย จึงเอาแบบอย่าง พระเจ้าอโศกมหาราช จากนั้นนำน้ำนมจากแม่โค ๑,๐๐๐ ตัว รดต้นโพธิ์ ในไม่ช้าหน่อโพธิ์ ได้แตกหน่อออกมาเป็นต้นที่ ๓ มีอายุราวประมาณ ๑,๒๕๖ - ๑,๒๗๖ ปี

ต้นที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๒๓ เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม นักโบราณคดีชาวอังกฤษ ได้เดินมาที่พุทธคยา ได้เห็นต้นโพธิแก่ชรามาก ได้มีชาวบ้านตัดกิ่งก้านมาทำเป็นฟืน ต่อมาพายุพัดล้มลง ได้เห็นหน่อโพธิ์ ๒ หน่อ (สูง ๖ นิ้วและ ๔ นิ้ว ได้นำหน่อสูง ๖ นิ้วมาปลูกลงที่ต้นเดิม ปัจจุบันมีอายุ ๑๓๖ ปี (๒๕๕๘)

สัตตมหาสถาน
เสวยวิมุตติสุข คือ สุขอันเกิดจากการหลุดพ้นจากอาสวะ กิเลส เป็นเวลา ๔๙ วัน สถานที่ละ ๗ วัน ๗ สัปดาห์ เรียกว่า สัตตมหาสถาน มีดังต่อไปนี้คือ
สัปดาห์ที่ ๑ ต้นพระศรีมหาโพธิ ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท โดยอนุโลมและปฏิโลม ไปตามลำดับและทวนกลับ
สัปดาห์ที่ ๒ อนิมิสสเจดีย์อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของ พระศรีมหาโพธิ ประทับยืนทอดพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ ไม่กระพริบตา เป็นเวลา ๗ วัน
สัปดาห์ที่ ๓ รัตนจงกรมเจดีย์ อยู่ระหว่างต้นพระศรีมหาโพธิ และอนิมิสสเจดีย์ เดินจงกรมเป็นเวลา ๗ วัน
สัปดาห์ที่ ๔ รัตนฆรเจดีย์ อยู่ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เป็นเรือนแก้วที่เทวดาเนรมิตสร้างไว้ พิจารณาอภิธรรมปิฎกเป็น เวลา ๗ วัน
สัปดาห์ที่ ๕ อชปาลนิโครธ (ต้นไทรเป็นที่พักของคนเลี้ยงแพะ) อยู่ทางทิศตะวันออก หุหุกชาติ ชอบตวาดผู้อื่นด้วยคำว่า หึหึ มาทูลถาม พระองค์ถึงธรรมที่ทำให้บุคคลเป็นพราหมณ์ ตรัสตอบว่า พราหมณ์ ผู้ใด มีบาปธรรมลอยเสียแล้ว ปราศจากกิเลสเครื่องย้อมจิตให้ติดแน่น ควรกล่าวได้ว่าตนเป็นพราหมณ์โดยธรรม
สัปดาห์ที่ ๖ มุจลินท์ (ต้นจิก) อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ฝนตกพรำตลอด พญานาคได้มาขดขนดกาย รอบพระพุทธเจ้าได้ ๗ รอบ แผ่พังพานเหนือเศียร เพื่อปกป้องลมและฝนมิให้ต้องกายพระองค์ พอฝนหยุด ยืนประนมมือเบื้องพระพักตร์ พระองค์ทรงเปล่งอุทานว่า ความสงัดเป็นความสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว เป็นต้น
สัปดาห์ที่ ๗ ราชายตนะ (ต้นเกตุ) อยู่ทางทิศใต้ มีพ่อค้า ๒ คน ชื่อ ตปุสสะ และภัลลิกะ เดินทางมา ได้นำข้าวสัตตุก้อน สัตตุผง น้อมถวาย หลังจากสนทนาทั้งสองได้ขอถึงพระพุทธ พระธรรมเป็นสรณะที่พึ่งทางใจ และกราบลากลับ พระองค์ได้มอบพระเกสาให้ ๘ เส้น




ภาพพระแท่นวัชรอาสน์ (Bodh Gaya)
พระแท่นวัชรอาสน์
พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างขึ้นเพื่อบูชาสถานที่บำเพ็ญเพียรของพระมหาบุรุษ ยาว ๗ ฟุต ๖ นิ้ว กว้าง ๑๐ นิ้ว หนา ๕ นิ้วครึ่ง สลักเป็นรูปเพชรด้านข้างมีพระญาหงส์ และดอกมณฑารพสลับกัน
พ.ศ. ๒๔๒๓ เซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม ได้ทำการขุดค้นพบจมอยู่ใต้กองอิฐหนา ๒๐ ฟุต (ประมาณ ๗ เมตร) พระมหาเจดีย์พุทธคยา พระมหาเจดีย์พุทธคยา มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมแหลม ทรงกรวยสูง ๑๗๐ ฟุต รอบฐาน ๗๕ ฟุต มีสองชั้น ส่วนชั้นล่างประดิษฐานพระพุทธเมตตา ส่วนชั้นบนเป็นพุทธปฏิมา พระปางประทานพร ประมาณ พ.ศ. ๒๒๘ พระเจ้าอโศกทรงสร้างเป็นวิหารมีขนาดไม่ใหญ่ ต่อมา พ.ศ. ๖๗๔ พระเจ้าหุวิชกะ ทรงสร้างเพิ่มเติมมีขนาดใหญ่กว่าเดิม เป็นศิลปะที่งดงามยิ่ง หลวงจีนถังซัมจั๋ง ได้กล่าวไว้ว่า สมัยที่เดินมามีพระสงฆ์ เป็นเถรวาท อยู่อาศัยจำนวนมาก และเรียกสถานที่นี้เรียกว่า มหาโพธิวิหาร
ปัจจุบันคนอินเดียเรียกว่า Main Temple คงเป็นวัดศูนย์กลางของสาธุชนทั่วโลก

พระพุทธเมตตา
พระพุทธเมตตา
ผู้คนจากทั่วโลกมาไหว้พระพุทธเมตตา

พระพุทธเมตตา เป็นพุทธปฏิมาปางมารวิชัย ทำจากหินแกรนิตสีดำแกะสลัก ปิดทองเหลืองอร่าม สร้างในสมัยปาละ อายุราว ๑,๔๐๐ ปี ในช่วงที่พระเจ้าศศางกามาทำลายต้นโพธิ์ ได้เห็นพระพุทธเมตตา ตอนแรกก็คิดจะทำลาย แต่พอเห็นพระพักตร์เอิบอิ่ม สง่างดงาม ไม่กล้าที่จะทำลาย และได้ยกทัพกลับ ระหว่างทางได้ฉุกคิด ถ้าไม่ทำลายพระพุทธรูปที่ประดิษฐานในวิหารโพธิ์ ชาวพุทธต้องกลับมาฟื้นฟูสถานที่แห่งนี้อีก จึงมีรับสั่งให้ทหารคนหนึ่งทำลาย นายทหารท่านนี้ เมื่อมาเห็นพระพักตร์พระพุทธเมตตาก็ทำลายไม่ลง พลางคิดว่า ถ้าตนทำลายแล้วชีวิตคงจะตกนรกหมกไหม้เป็นแน่ จึงได้ปรึกษาประชุมกับชาวพุทธในบริเวณนี้ ได้ทำกำแพงกั้นไว้ กลับไปรายงานว่าได้ทำลายพระพุทธเมตตาเรียบร้อยแล้ว พระเจ้าศศางกะ ได้ยินได้ฟังเกิดความเดือดเนื้อร้อนใจ ทรงประชวร อย่างหนัก มีเนื้อหลุดมาจากกายเป็นชิ้นและสิ้นใจตายอย่างอนาถ ภายใน ๗ วัน นายทหารคนนี้รีบมาที่พุทธคยาทำลายกำแพงกั้น ปรากฏว่าเกิดอัศจรรย์คือ น้ำมันจุดบูชายังลุกไหม้เหมือนเดิมไม่ดับ ทรงพิจารณาอุปนิสัยเวไนยสัตว์

หลังสัปดาห์ที่ ๗ เสด็จประทับภายใต้ต้นอชปาลนิโครธ ทรงพิจารณาธรรมที่พระองค์ที่ได้ตรัสรู้ เป็นธรรมที่ลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจ เมื่อพิจารณาเช่นนี้พระทัยของพระองค์จึงน้อมไปเพื่อการขวนขวายน้อยมิได้น้อมพระทัยในการเผยแผ่ธรรมที่ทรงบรรลุแต่อย่างอย่างใด ท้าวสหัมบดีพรหมทรงทราบดำริและทรงปริวิตกว่าโลกจักฉิบหายเสียแล้ว จึงทูลอาราธนาให้พระองค์แสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ พระองค์ทรงพิจารณาถึงอุปนิสัยของเวไนยสัตว์ที่แตกต่างกันโดยอาศัยเวไนยสัตว์ผู้มีธุลีในจักษุน้อย ถ้าไม่ได้ฟังธรรมอาจเสื่อมจากคุณวิเศษได้ และทรงเปรียบเทียบของเวไนยสัตว์กับดอกบัว ๔ เหล่า คือ
๑. อุคฆฏิตัญญู ได้แก่ บุคคลผู้มีปัญญาเฉียบแหลม เหมือนดอก บัวพ้นน้ำ พอถูกแสงอาทิตย์จักบานทันที
๒. วิปจิตัญญู ได้แก่ บุคคลระดับปานกลาง เหมือนดอกบัวอยู่บนผิวน้ำ ซึ่งจักบานในวันรุ่งขึ้น
๓. เนยยะ ได้แก่ บุคคลที่พอจะแนะนำได้ เหมือนดอกที่อยู่ในน้ำจักบานในวันต่อๆ ไป
๔. ปทปรมะ ได้แก่ ผู้ที่มีปัญญาด้อย จำต้องสอนเพื่อเป็นปัจจัย เกื้อหนุนในภพต่อๆ ไป เหมือนดอกบัวที่อยู่ในโคลนตม มีโรค ย่อมเป็น อาหารของปลาและเต่า
เมื่อทราบด้วยปัญญาแล้ว จึงทรงตั้งพระหฤทัยที่จะแสดงธรรม สั่งสอนมหาชน เรียกว่า ทำอายุสังขาราธิษฐาน และทรงตั้งปณิธานใคร่จะทรงดำรงพระชนม์อยู่จนกว่าจะได้ประกาศพระศาสนาให้แพร่หลายทุกหมู่เหล่า ทรงดำริบุคคลที่ จะรับฟังธรรม ตอนแรกระลึกถึงอาฬารดาบสและอุทกดาบส แต่ท่าน ทั้งสองได้สิ้นชีวิตไปแล้ว ต่อมาทรงนึกถึงปัญจวัคคี ผู้ที่เคยอุปัฏฐาน เมื่อครั้งบำเพ็ญเพียร ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๘ แห่งอาสาฬหมาส จึงเสด็จ ดำเนินไปยังเมืองพาราณสี

ได้พบกับอุปกะอาชีวก
ระหว่างแม่น้ำคยากับแดนพระมหาโพธิ์ ได้พบกับอุปกะอาชีวกเห็นพระฉวีวรรณผุดผ่อง จึงทูลถาม ท่านบวชในสำนักไหน ใครเป็นครูของท่าน พระองค์ตรัสตอบว่า ไม่มีใครเป็นครู ตรัสรู้เอง อุปกะไม่เชื่อสั่นศีรษะ แล้วหลีกไป

อุรุเวลาเสนานิคม
ในอดีตสมัยเมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น กุลบุตรหมื่นคนบวชเป็นดาบสอยู่ที่ประเทศนั้น (หมายถึงอุรุเวลา) วันหนึ่งได้ประชุมกันทำกติกาวัตรไว้ ธรรมดากายกรรม วจีกรรมเป็นของปรากฏแก่ผู้อื่นได้ ฝ่ายมโนกรรมมหาปรากฏไม่ เพราะฉะนั้นผู้ใดตรึกกามวิตกหรือพยาบาทวิตกหรือวิหิงสาวิตก คนอื่นที่โจทก์นั้นย่อมไม่มี ผู้นั้นต้องโจทก์ ตนด้วยตนเองแล้ว เอาห่อแห่งใบไม้ขนทรายมาเกลี่ยในที่นี้ ด้วยตั้งใจว่า นี่พึงเป็นทัณฑกรรม จำเดิมแต่นั้นมาผู้ใดตรึกวิตกเช่นนั้น ผู้นั้นย่อมใช้ห่อแห่งใบไม้ขนทรายมาเกลี่ยในที่นั้น ด้วยประการอย่างนี้ กองทรายในที่นั้นจึงใหญ่ขึ้นโดยลำดับภายหลังมาประชุมกัน จึงได้แวดล้อมกองทรายในที่นั้นทำให้เป็นเจดียสถาน ตั้งแต่นั้นมาชื่อแห่งนั้นจึงชื่อว่า อุรุเวลา ในสมันตปาสาทิกา อธิบายศัพท์ อุรุเวลา ไว้ว่า บทว่า อุรุเวลายํ ได้แก่ ที่แดนใหญ่ อธิบายว่า ที่กองใหญ่ หรืออีกประการหนึ่ง ทราย เรียกว่า อุรุ, เขตคั่น เรียกว่า เวลา แลพึงเห็นความในบทนี้อย่างนี้ว่า ทรายที่เขาขนมา เพราะเหตุที่ล่วงเขตคัน ชื่อว่า อุรุเวลา ลักษณะภูมิประเทศของอุรุเวลาเสนานิคม ในสมัยพุทธกาลนั้นเป็นป่าที่ร่มรื่นน่าอยู่อาศัยมีแม่น้ำใสไหลเย็น

อาศรมชฎิล โปรดชฎิล ๓ พี่น้อง
ชฎิล ๓ พี่น้อง เกิดในตระกูลกัสสปะโคตร เป็นลัทธิบูชาไฟ พี่ชายคนใหญ่คนโตชื่ออุรุเวลกัสสปะ มีบริวาร ๕๐๐ คน น้องชายคนรองชื่อนทีกัสสปะ มีบริวาร ๓๐๐ คน น้องชายคนเล็กชื่อคยากัสสปะ มีบริวาร ๒๐๐ คน อาศัยตามคุ้งแม่น้ำติดต่อตามลำดับ
๑. อุรุเวลกัสสปะ ตั้งอาศรมอยู่ที่พนาสัณฑ์ ตำบลอุรุเวลา
๒. นทีกัสสปะ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา
๓. คยากัสสปะ ตั้งอยู่ที่คุ้งใต้แห่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา-สีสะประเทศ
พระบรมศาสดาได้ขอพักที่โรงไฟ ได้กำจัดฤทธิ์เดชพระญานาค ให้สิ้นไป ชฎิลอุรุเวลกัสสปดำริว่า พระมหาสมณะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากแท้ ถึงกับ (กำจัดฤทธิ์เดชพระญานาค, ให้ไฟลุกขึ้นได้, ให้พวกชฎิลดับไฟได้, เนรมิตกองไฟได้มากมาย, บันดาลไม่ให้น้ำไหลได้) แต่ก็ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนเรา
พระองค์ตรัสถึงความไม่มีแก่นสารของลัทธิ อุรุเวลกัสสปะและบริวารพร้อมกันลอยเครื่องบริขารไปตามแม่น้ำ ส่วนน้องชายทั้งสองได้เห็นบริขารที่ลอยตามน้ำรีบเข้ามาหา เห็นพี่ถือเพศเป็นภิกษุ เห็นเป็นการประพฤติพรหมจรรย์จึงขออุปสมบท พระองค์ทรงประทานให้ พระพุทธองค์เสด็จไปยังตำบลคยาสีสะใกล้แม่น้ำคยาตรัสเรียกภิกษุมาพร้อมกัน ทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร คือพระสูตรที่ว่า ด้วยของร้อน คือ
๑. อายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นของร้อน
๒. อายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์ เป็นของร้อน
๓. วิญญาณ ผัสสะ และเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะอายตนะภายในกับอายตนะภายนอกกระทบกันเป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ และร้อนเพราะการเกิด แก่เจ็บ ตาย ความเศร้าโศก คร่ำครวญ ความทุกข์ ความเสียใจ และความขัดเคืองใจ จบพระธรรมเทศนาได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ทั้งหมด ๑,๐๐๓ รูป
สรุปวิเคราะห์ การประกาศและประดิษฐานพระศาสนา พระพุทธองค์มีพุทธนโยบาย คือในระยะแรกเริ่มเผยแผ่กับหัวหน้าคน นักปราชญ์ บัณฑิต เจ้าลัทธิ (ไม่ได้ทรงประกาศจากคนโง่ไปหาคนฉลาด) จะเข้าไปในตัวเมืองชุมชนเป็นหลัก (ไม่ใช่ป่าล้อมเมือง)
เมื่อกษัตริย์ อาจารย์ เจ้าลัทธิ เหล่านี้ได้ดวงตาเห็นธรรม คนอื่นๆ ก็จะนับถือตามไปด้วย ทำให้พระพุทธศาสนาแพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว และพระองค์ก็ทรงปลอดภัยจากผู้มีอำนาจ เพราะว่าผู้มีอำนาจเหล่านั้นได้ยอมรับนับถือ ทั้งได้ทรงปฏิบัติพระองค์เองไม่เกี่ยวข้องกับกิจการบ้านเมือง มุ่งสอนธรรมเพื่อ อนุเคราะห์เกื้อกูลประชาชน
เขาพรหมโยนี (คยาสีสะประเทศ)
เขาพรหมโยนี (คยาสีสประเทศ) สถานที่แสดงอาทิตตปริยายสูตรโปรดชฎิล ๓ พี่น้อง และเป็นที่ตั้งสำนักของพระเทวทัตเมื่อครั้งแยกตัวออกจากพระพุทธเจ้า ที่ได้ชื่อว่า พรหมโยนี เพราะมีก้อนหินทับกันดูเหมือน โยนีของพระพรหม ปัจจุบันเป็นศาสนสถานสำคัญของชาวฮินดู ซึ่งอยู่ใกล้กับตัวเมืองคยา เดิมเรียกว่า คยาสีสะ หรือเรียก คชาสีสะ แปลว่าหัวช้าง ลักษณะเขาคล้ายกับหัวช้าง
สมณะจีนเฮี่ยงจัง ได้บันทึกไว้ว่า ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของภูเขานี้ ท่านได้เห็นสถูปที่เขาได้สร้างอุทิศให้แก่พระกัสสปะสามพี่น้อง

ภาพ : จิตรกรรม ณ กัลยาณีวิหาร ศรีลังกา ท่านพระพุทธโฆสะ นำคัมภีร์วิสุทธิมรรค ที่ท่านรจนาแล้ว ๓ ชุด ถวายพระสังฆเถระ ท่ามกลางชุมนุมสงฆ์คณะมหาวิหาร พระพุทธโฆษาจารย์
พ.ศ.๙๖๕ (ค.ศ.๔๒๒) พระพุทธโฆษาจารย์ เป็นบุตรพราหมณ์ในตำบลพุทธคยา เป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดมาก ต่อได้บวชเป็นศิษย์ของพระเรวตมหาเถระ อาจารย์ได้สั่งให้ท่านไปที่ลังกา ระหว่างทางได้สวนกับพระพุทธธัตตะ
ท่านพำนักอยู่ที่สำนักวิหาร เมืองอนุราธบุรี ได้แปลสีหลัฏฐกถา(สิงหล) แห่งพระไตรปิฎกสู่ภาษาบาลี
ท่านเป็นพระอรรถกถาจารย์ที่มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะฝ่ายเถรวาท ตัวอย่างผลงานที่สำคัญ เช่น
- สุมังคลวิลาสินี แก้พระสูตรฝ่ายทีฆนิกาย
- ปปัญจสูทนี แก้พระสูตรฝ่ายมัชฌิมนิกาย
- สารัตถทีปนี แก้พระสูตรฝ่ายสังฆยุตตนิกาย
- มโนรถปูรณี แก้พระสูตรฝ่ายอังคุตตรนิกาย
- ปรมัตถโชติกา แก้ขุททกปาฐะ สุตตนิบาตในขุททนิกาย
- ชาตกัฏฐกถา แก้ชาดกในขุททกนิกายตั้งแต่เอกนิบาตจนถึงมหานิบาต
- ธัมมปทัฏฐกถา แก้ธรรมบทในขุททกนิกาย
- อัฏฐสาลินี แก้ธรรมสังคณี
- สัมโมหวิโนทนี แก้วิภังค์
- ปรมัตถทีปนี แก้ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก ปัฏฐาน
ยังมีปกรณ์ที่สำคัญคือ วิสุทธิมรรค อธิบายเรื่องศีล สมาธิ ปัญญาอย่างพิศดาร

วิมุตติมรรค
หนังสือ วิมุตติมรรค (ทางแห่งความหลุดพ้น) เป็นวรรณคดีประเภทประกรณ์พิเศษที่อธิบายไตรสิกขาคือ ศีล สมาธิ และปัญญา อันเป็นวิมุตติมรรค ซึ่งเป็นคู่มือสำหรับศึกษาและปฏิบัติธรรม ซึ่งแต่งก่อนคัมภีร์ วิสุทธิมรรค รจนาโดย พระอุปติสสเถระ ท่านมีผลงานแพร่หลายในรัชกาลของพระเจ้าวสภะ ผู้ครองราชย์ในลังกา ระหว่าง พ.ศ.๖๐๙-๖๕๓ ยังไม่มีเอกสารหลักฐานหรือข้อยุติว่าท่านเป็นชาวลังกาหรือชาวอินเดีย
เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้พระพุทธโฆสาจารย์จะได้อ้างทัศนะของผู้แต่ง วิมุตติมรรค หลายครั้ง แต่ก็ไม่เคยกล่าวถึงหนังสือนี้โดยตรงใน วิสุทธิมรรค ท่านเพียงแต่อ้างว่าเป็นมติของอาจารย์บางพวก
หากจะตั้งปัญหาถามว่า เหตุใดในการแต่ง วิสุทธิมรรค พระพุทธโฆสาจารย์ จึงไม่เอ่ยถึงหนังสือ วิมุตติมรรค เลย? เหตุผลที่น่าจะเป็นได้มากก็คือว่า พระพุทธโฆสาจารย์แต่ง วิสุทธิมรรค เพราะถูกพระเถระแห่งมหาวิหารทอดสอบความรู้ก่อนที่จะอนุญาตให้แปลอรรถกถาจากภาษาสิงหลเป็นภาษาบาลี ในเวลานั้นสำนักมหาวิหารนั้นเป็นคู่แข่งของสำนักอภัยคิรีวิหาร
วิมุตติมรรค แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๑๒ บท ส่วนวิสุทธิมรรคแบ่งออกเป็น ๒๓ บท

วัดพุทธนานาชาติ
จากการที่รัฐบาลอินเดียได้เชิญชวนประเทศชาวพุทธมาสร้างยังแดนพุทธภูมิ ทำให้ปรากฏมีวัดนานาชาติทั่วอาณาบริเวณพุทธคยา แต่ละประเทศได้แสดงศิลปะการก่อสร้างเอกลักษณ์ของตนเองได้อย่างงดงามตระการตา วัดนานาชาติได้แก่ วัดญี่ปุ่น วัดธิเบต วัดภูฏาน ไทย ลาว พม่า กัมพูชา ศรีลังกา จีน ฯลฯ

สาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ (International Tipitaka Chanting Ceremony)
สาธยายพระไตรปิฎกนานาชาติ เป็นกิจกรรมพิธีกรรมที่มีการนัดพบกันของพุทธนานาชาติทั่วโลก ที่จะได้มาร่วมกันศึกษาท่อง สาธยาย คำสั่งสอนของพระพุทธองค์จากพระไตรปิฎก โดยแต่ละประเทศ จะมีการพลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ
- จุดประสงค์ของการสาธยายพระไตรปิฎก
๑. เพื่อเป็นการพบปะกันของพุทธนานาชาติ ที่แตกต่างด้านภาษา วัฒนธรรม และภูมิประเทศ
๒. เพื่อกระตุ้นให้ชาวพุทธให้ความสำคัญช่วยกันศึกษาคำสั่งสอน ของพระพุทธเจ้า
๓. เพื่อความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพุทธบริษัทโลก
๔. เพื่อเป็นการประกาศพระพุทธศาสนาให้ขจรขจายไปทัวโลก
แรกเริ่มเดิมที คุณวังโม ดิกซีย์ ประธานมูลนิธิประทีป พุทธธรรมนานาชาติอินเดีย ได้ริเริ่มจัดขึ้น และสนับสนุนงบประมาณจนถึงทุกวันนี้
- ระยะเวลาในการจัดงาน
ระยะเวลาในการจัดงานจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑-๑๐ เดือนธันวาคม ของทุกปี
ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ ประเทศกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดงานสาธยายพระไตรปิฎก นับเป็นครั้งที่ ๑๑


พุทธคยามหาสังฆาราม
เมือง...บำเพ็ญทุกรกิริยา เมือง...ตำรามธุปายาส
เมือง...ลอยถาดอธิษฐาน เมือง...ศาสดาจารย์ตรัสรู้
เมือง..บรมครูชนะมาร เมือง...อธิษฐานแล้วสำเร็จ
เมือง...๗ สถานอันศักดิ์สิทธิ์ เมือง...สถิตพุทธเมตตา
เมือง...ภาวนาใต้โพธิ์ศรี เมือง...มหาเจดีย์สูงเสียดฟ้า
เมือง...ลอยชฎาสามฤาษี เมือง...พรหมโยนีน่าศึกษา
เมือง...เนรัญชรานทีทราย เมือง...น้อมใจ - กายแนบพระธรรม
เมือง...เวรกรรมยํ้าชาดก เมือง...สวรรค์บนบก – นรกบนดิน ฯ
ที่มา.. หนังสือคู่มือพระธรรมวิทยากร

ประวัติศาสตร์พุทธคยา
ท่านพุทธโฆษาจารย์ ได้เล่าว่า ท่านเป็นศิษย์ของพระเรวตะแห่งพุทธคยา มหาสังฆารามได้เดินทางไปแปลพระคัมภีร์พระไตรปิฎกจากภาษาสิงหล กลับมาเป็นภาษามคธที่เกาะลังกา พุทธคยาเป็นเขตอิทธิพลของพวกฮินดูคยาเกษตรใช้เป็นที่บูชาถวายบิณฑ์ ๑ ใน ๑๖ แห่ง เมืองพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์ที่นี่จึงเรียกพุทธคยา
ปัจจุบัน เป็นสถานที่อันยิ่งใหญ่มีนักแสวงบุญจากทั่วโลกมาไหว้พระสวดมนต์ตลอดทั้งปี
หลังจากพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้วจึงได้เสวยวิมุติสุขอยู่ ๗ สัปดาห์ แล้วเสด็จไปเมืองพาราณสี เมื่อมีสาวกมากขึ้นพระพุทธองค์จึงได้ส่งพระสาวกไปประกาศพระศาสนา ครั้นนั้นพระพุทธองค์ได้เสด็จกลับมาเพื่อโปรดชฎิลสามพี่น้องพร้อมบริวารจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ จากนั้นพระองค์ก็บำเพ็ญพุทธกิจยังแคว้น ต่าง ๆ จนเข้าสู่การปรินิพพาน
-พ.ศ. ๒๒๘ – ๒๔๐ พระเจ้าอโศกได้เสด็จมาสักการะ ณ สถานที่ตรัสรู้ได้สร้างพระสถูปขนาดย่อม ๆ เพื่อบูชา และ ปักเสาศิลาไว้เป็นเครื่องหมายสร้างพระแทนวัชรอาสน์ รั้วทำด้วยหินล้อมรอบต้นพระศรีมหาโพธิ์ ฯลฯ
- พ.ศ. ๖๗๔ – ๖๙๔ พระเจ้าหุวิชกะ ทรงสร้างเสริมให้เป็นศิลปะต้นแบบเป็นสถูปใหญ่ หลวงจีนถังซัมจั๋ง เรียกว่า “มหาโพธิ์วิหาร” เป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมแหลม ทรงกรวย ห่างจากต้นโพธิ์ ๒ เมตรมีพระแท่นวัชรอาสน์คั่นกลาง ขนาดสูง ๑๗๐ ฟุต วัดรอบฐานขนาด ๘๕ ฟุตเศษมี ๒ ชั้น มีเจดีย์บริวารอีก ๔ องค์ ทรงเดียวกันอยู่บนฐานชั้นที่ ๒ สูง ๔๕ ฟุต ส่วน ชั้นล่างนั้นประดิษฐานพระพุทธเมตตา “ปางมารวิชัย” สร้างจากหินแกรนิตสีดำ สมัยของราชวงศ์ปาละอายุประมาณ ๑๔๐๐ ปีเศษ ชั้นบนประดิษฐานพระพุทธปฏิมาปาง “ปางประทานพร ” สร้างในสมัยเดียวกัน
-พ.ศ. ๙๔๕ – ๙๕๐ หลวงจีนฟานเหียนเดินทางมาสักการะสถานที่ตรัสรู้และได้พรรณาถึงความงดงามของพระมหาเจดีย์พุทธคยา เห็นพระสงฆ์เถาวาทและพุทธศาสนิกชนมาสักการะกันอย่างมิขาดสาย
- พ.ศ.๑๑๔๕ กษัตริย์รัฐเบงกอลนามศศางกา ได้ประกาศอิสระจากมคธยกทัพมาทำลายพุทธสถานอย่างย่อยยับ
-พ.ศ.๑๑๔๕ กษัตริย์ปูรณวรมาตีทัพเบงกอลแตกแล้วทำการบูรณะซ่อมแซม
-พ.ศ. ๑๔๙๑ อมรเทวพราหมณ์ ปุโรหิตของพระเจ้าวิกรมาทิตย์แห่งเมือง มัลวาบอกไว้ในหนังสืออมรโฆษว่าออกแบบวิหารโพธิ์ใหม่ให้เป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
-พ.ศ. ๑๕๗๘ พม่าส่งคณะช่าง นำโดย ธรรมราชครูเพื่อบูรณะแต่เกิดข้อพิพาทกันกับอินเดีย พม่าเลยต้องหยุดการซ่อมแซม
-พ.ศ. ๑๖๒๒ พม่าส่งช่างชุดที่ ๒ มาฟื้นฟูบูรณะใช้เวลา ๗ ปีเสร็จเมื่อ ๑๘ ตุลาคม ๑๖๒๙ พุทธคยามีชีวิตกลับมาอีกครั้งหนึ่ง
-พ.ศ. ๑๗๔๓ พระธัมมรักขิต รับทุนจากพระเจ้าอโศกมัลละแห่งแคว้นสิวะสิกะอินเดีย มาปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมให้ดียิ่งขึ้น
-พ.ศ. ๑๗๖๐ อิสลามกองทัพเติร์กยึดครองมคธรัฐทำลายล้างพุทธสถานทั้งหมด พร้อมยกพุทธคยานี้ให้อยู่ในการดูและของฮินดูนิกายมหันต์ โดยอ้าง เมื่อพ.ศ. ๑๗๒๗ จักรพรรดิ โมกุลนามมูฮัมหมัดซาห์ ได้มอบพุทธคยาทั้งหมดเป็นสมบัติของมหันต์องค์ที่สี่ชื่อว่า “ ลาลคีรี ” จากนั้นพุทธคยาก็ถูกทอดทิ้งหลายร้อยปีไม่มีการบูรณะมีชาวพุทธมาสักการะเพียงเล็กน้อย
-พ.ศ. ๒๑๓๓ พุทธคยามหาสังฆาราม ถูกมุสลิมคุกคามถูกพวกพราหมณ์รังแกในที่สุดหลุดจากมือชาวพุทธอย่างเด็ดขาดตกอยู่ในความคุ้มครองของนักบวชมหันต์นิกายทัสนามิ สันยาสีที่ชื่อโคสายฆมันดีร์คีรี
-พ.ศ. ๒๑๓๕ อังกฤษยึดครองอินเดีย
-พ.ศ. ๒๓๕๔ พระเจ้าแผ่นดินพม่าเสด็จมาเห็นได้ส่งทูตมาเจรจาขอบูรณะ ตามบันทึกดร. บุคานัน แฮมินตัน บอกว่าพุทธคยาอยู่ในสภาพย่อยยับไม่ได้รับการดูแล
-พ.ศ. ๒๔๑๗ พระเจ้ามินดงเจรจาผ่านรัฐบาลอินเดียซึ่งเป็นของอังกฤษแล้ว อังกฤษส่งคนมาช่วย ๒ นายเพื่อกำกับคือ “ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม กับ ดร. ราเชนทร ลาลมิตระ ” - พ.ศ. ๒๔๑๙ พม่าเกิดสงครามกับอังกฤษงานบูรณะจึงต้องหยุด
- พ.ศ. ๒๔๒๓ เซอร์อเล็กซานเดอร์ , ดร.ราเชนทร , เซอร์อีแดนแต่งตั้งให้นาย เจ ดี เบคลาร์ ทำการปฏิสังขรณ์ เสร็จ ในปีพ.ศ. ๒๔๒๗ ( ๔ ปี )
-พ.ศ. ๒๔๓๓ ท่านเซอร์ เอ็ดวิน อาร์โนลด์ ฝรั่งอังกฤษชาวพุทธได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “ The Light of Asia ”
-พ.ศ. ๒๔๓๔ อนาคาริกะ ธัมมปาละ ชาวศรีลังกามากราบพุทธคยาเกิดศรัทธาปรารถนา เรียกร้องสิทธิของความเป็นเจ้าของพุทธคยา ๓๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๔ ได้ประชุมชาวพุทธสากลที่พุทธคยามีพม่า, ลังกา , จีน, ญี่ปุ่น แล้วญี่ปุ่นได้ประกาศว่าจะหาเงินมาซื้อพุทธคยาคืน อังกฤษระแวงญี่ปุ่นเพราะเพิ่งรบชนะรัสเซียจึงไม่ยอมให้ครอบครอง จึงเกิดขบวนกอบกู้พุทธคยา (แม็กมึน, เอ็ดวิน ฯ, วิลเลี่ยม พ.อ. โอลคอตต์ ) ออกปราศัยที่ พม่า – อังกฤษ – สิงคโปร์ – ไทย – ลังกา หาผู้สนับสนุน
-พ.ศ. ๒๔๓๖ อนาคาริกะ ธัมมปาล กลับมาพุทธคยาพร้อมกับโอลคอตต์ และ MR. เอดซ์ นักเทววิทยา ได้เห็นพระ ๔ รูป ถูกพวกมหันต์ทุบตีเกือบตายซํ้าร้ายเขายังกีดกันมิให้พวกธรรมยาตราเข้าสักการะพุทธคยา
-พ.ศ. ๒๔๓๘ ชาวพุทธขอนำพระพุทธรูปอายุ ๗๐๐ ปี เข้าไปประดิษฐานแต่พวกมหันต์ก็ไม่เห็นด้วยอ้างว่า “ พระพุทธเจ้าเป็นเพียงอวตารปางที่ ๙ ของพระนารายณ์”
-พ.ศ. ๒๔๔๕ มีความเคลื่อนไหวทั่วโลก โดย เอดวินอาร์โนล , ดร. ริดเดวิด, ศ. แม็กมึลเลอร์ ชาวพุทธเริ่มมีพลัง พวกมหันต์เพิ่มความรังเกียจชาวพุทธมากขึ้น
-พ.ศ. ๒๔๖๗ ชาวพุทธพม่า , ลังกา , เนปาล , ร้องเรียนรัฐบาลพรรคคองเกรสส์ตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นพิจารณา โดยมี ดร. ราเชนทร์ ประสาท (ประธานาธิบดีเป็นประธาน ) ตั้งกรรมกาชาวพุทธ ๕ คน คือ ฮินดู ๕ คน ดูแลพุทธคยา โดยออกกฎหมายบังคับ
ความเห็นของ “ มหาตมคานธี ” คือ วิหารพุทธคยานี้ควรเป็นสมบัติของชาวพุทธโดยชอบธรรมการนำสัตว์ไปฆ่าทำพลีกรรมในวิหารมหาโพธิ์ ไม่สมควร เพราะล่วงละเมิดต่อสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธศาสนา เป็นการประทุษร้ายต่อจิตใจของชาวพุทธทั่วไป
ความเห็นของ ระพินทรนาถฐากูร คือ ที่ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนี้จะตกอยู่ในความดูแลของศาสนาอื่นไม่ได้ เพราะศาสนาอื่นไม่เกี่ยวข้องอะไรและไม่มีเยื่อใยอะไรต่อพระพุทธศาสนา
- พ.ศ. ๒๔๙๐ อินเดียเป็นเอกราชจากอังกฤษ มหาโพธิ์สมาคมรบเร้า สิทธิพุทธคยา ใน พ.ศ. ๒๔๙๑ ดร. ศรีกฤษณะ ซิงห์ นายกรัฐมนตรีพิหาร ได้เสนอให้ร่างรัฐบัญญัติวิหารพุทธคยา
-พ.ศ. ๒๔๙๒ เดือนพฤษภาคม จัดตั้งคณะกรรมการดูแล ๙ คน มีผู้ว่าจังหวัดคยาเป็นประธาน กรรมการ ๘ คน และ ชาวพุทธ ๔ คน ฮินดู ๔ คน
-พ.ศ. ๒๔๙๖ นายกรัฐมนตรีพม่ามาเยือน พวกมหันต์บอกว่าได้ยกพุทธคยาให้ชาวพุทธ
-พ.ศ. ๒๕๓๐ ภิกษุไซไซ ชาวญี่ปุ่นนำชาวพุทธจากนาคปูร์ + รัฐมหารชตะเรียกร้องให้นำศพมหันต์ที่ฝังไว้ และ ปัญจปาณฑปพร้อมศิวลึงค์ที่กลางวิหารออกไปที่อื่น
-พ.ศ. ๒๔๙๙ บูรณะเล็กน้อยเพื่อฉลองพุทธคยาชยันตีพุทธศาสนาอายุ ๒๕๐๐ ปี
-พ.ศ. ๒๕๑๒ พระสุเมธาธิบดี ได้นำพุทธบริษัทชาวไทยประดับไฟแสงจันทร์
-พ.ศ. ๒๕๑๙ พุทธบริษัทชาวไทย สร้างกำแพงแก้ว ๘๐ ช่อง ซุ้มประตูแบบอโศก ๒ ซุ้ม เสร็จในปี ๒๕๒๐
-พ.ศ. ๒๕๓๑ ชาวพุทธเนปาลปูหินอ่อน

ที่มา... คู่มือพระธรรมวิทยากร

ปั้นจักรยานข้างรางรถไฟ
รถโดยสารประจำทางกำลังจะออกจากตัวเมือง
ร้านค้าข้างถนน
ร้านค้าเครื่องปั้นดินเผา
ร้านค้า มินิมาร์ท หรือ7/11 บ้านเรา
ร้านขายผลไม้ มีกล้วย แอปเปิ้ล เป็นต้น

วันรุ่นอินเดีย







โพธิสิกขาลัย (Bodhisikkhalai)
โทร 0-3587-3065, 085-7777-184 แฟกซ์ 0-3587-3058
Line ID: 0857777184
เว็บไซต์ : www.bodhisikkhalai.com
อีเมล: bodhisikkhalai@gmail.com


Copyright © 2011 All Rights Reserved