ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
เมนูหลัก
ประวัติความเป็นมา
ติดต่อสอบถาม
หนังสือ
เอกสารยื่น ศ.ต.ภ.
พระพุทธรูป, ศิลปะคันธาระ, ศิลปะคุปตะ, ศิลปะปาละ, ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
พระพุทธรูป
ศิลปะคันธาระ
ศิลปะคุปตะ
ศิลปะปาละ
ข้อมูลอินเดียแดนพุทธภูมิ
ข้อมูลแดนพุทธภูมิ
แผนที่แดนพุทธภูมิ
พุทธคยา
ราชคฤห์-นาลันทา
ปัตนะ
ไวสาลี
เกสริยา
กุสินารา
กบิลพัสดุ์
กบิลพัสดุ์ ฝั่งอินเดีย
นิโครธาราม
รามคามสถูป นครเทวทหะ
ลุมพินี
สาวัตถี
สังกัสสนคร
สารนาถ
โกสัมพี
แคว้นอวันตี
Flag Counter
ข้อมูลอินเดีย
ข้อมูลพุทธสถาน
สาญจี
ถ้ำอชันตา
ถ้ำเอลโลร่า
ถ้ำออรังกาบัด
ถ้ำกัณเหรี
อโยธยา
ข้อมูลอินเดีย
ข้อมูลอินเดีย
นิวเดลี
อัครา
ฟาเตห์ปูร์ สิครี
ราชสถาน
หริทวาร, ฤาษีเกษ
จัมมู - แคชเมียร์
เลห์-ลาดักห์
อัมริตสาร์
มะนาลี-ชิมลา
ดารัมชาลา
เมืองลัคเนา
โกลกาตา
สะสาราม
พาราณสี
นิลกาย
มุมไบ
ข้อมูลอินใต้
ข้อมูลอินเดียใต้
รัฐเตลังคานา
เมืองกาญจีปุรัม
ฮัมปิ
ข้อมูลศรีลังกา
ข้อมูลศรีลังกา
ไหว้พระศรีลังกา
ข้อมูลอินโดนีเซีย
ข้อมูลอินโดนีเซีย
บุโรพุทโธ บาหลี
ข้อมูลพม่า
ข้อมูลพม่า
ย่างกุ้ง/ ไจโท้/หงสา/ สิเรียม
มัณฑะเลย์/พุกาม/อินเล/
ข้อมูลสิงคโปร์
ข้อมูลสิงคโปร์
สิงคโปร์
ข้อมูลมาเลเซีย
ข้อมูลมาเลเซีย
มาเลเซีย
ข้อมูลกัมพูชา
ข้อมูลกัมพูชา
เสียมเรียบ/นครวัด/นครธม
ข้อมูลลาว
ข้อมูลลาว
เวียงจันทร์/วังเวียง
หลวงพระบาง
ลาวใต้
ข้อมูลลาว
ข้อมูเวียดนาม
ฮานอย/ซาปา
ดานัง
โฮจิมินห์
ข้อมูลอินเดีย
โปรแกรมทัวร์ เดินทางคนเดี่ยว
สี่สังเวชฯ+อัครา+ราชสถาน+เดลี(21วัน)
สี่สังเวชฯ+สาญจี+อชันตา+เอโลร่า+มุมไบ (14วัน)
สี่สังเวชฯ+อัครา,ทัชมาฮาล+จัยปูร์+เดลี(11วัน)
ข้อมูลลาว
ข้อมูลทวีปยุโรป
กรุงเทพ-ลอนดอน
อิตาลี
อังกฤษ
พระพุทธรูปศิลปะคันธาระ (Gandhara)
พระพุทธรูปองค์แรกของโลก



แผนที่ตั้งเมืองคันธาระ

หลังพุทธกาล 200 ปี
กษัตริย์แคว้นโกศลตอนนั้นชื่อว่า พระเจ้าวิทูฑภะ เป็นโอรสของ พระเจ้าปเสนทิโกศล ตอนท้ายพุทธกาล พระเจ้าวิทูฑภะยกทัพไปปราบ แคว้นศากยะแล้วก็ทําลายแคว้นศากยะหมด

กษัตริย์สายศากยะ หลงเหลืออยู่อาจหนีไปอยู่ตามเชิงเขา หิมาลัย ต่อมา ก็ได้ค่อยๆ รวบรวมพวกพองเผ่าพันธุ์ มีกําลังมากขึ้น โมริยะนี้ก็เป็นศากยะสายหนึ่ง

จนกระทั่งประมาณ พ.ศ. ๑๖๑ ก็ได้มีคนสําคัญในวงศ์โมริยะเกิด ขึ้นชื่อว่าจันทรคปต์ ซึ่งได้พยายามที่ จะรวบรวมอำานาจและชิงแคว้นมคธนี้

เวลานั้น แคว้นมคธใหญ่มาก โมริยะเป็นเพียงชนเผ่าหนึ่งเท่า นั้น พวกโมริยะโดยจันทรคุปต์เป็นหัวหน้า ไดพยายามเข้ามายึดอำนาจแคว้นมคธ แต่ก็ยังทําการไม่สําเร็จ

พอดีถึงยุคที่พระเจ้าอเลกซานเดอร์มหาราช มีอํานาจขึ้นมาทางกรีก ต้องการแผ่อํานาจไปทั่วโลก ก็ได้กรีฑาทัพตีมาตลอด จนถึงชาย แดนประเทศอินเดีย และคิดว่าต้องตีประเทศอินเดียด้วย จึงได้พักกำลังพลอยู่ชายแดนประเทศอินเดีย ที่เมืองตักศิลา

ที่ตักศิลานั้น อเลกซานเดอร์มหาราชเตรียมวางแผนที่จะทํา สงครามกับชมพูทวีป คือแคว้นมคธนี้ซึ่งกาลังเป็นแคว้นมหาอานาจอยู่

พอดีประจวบเวลาเดียวกันกับปู่ของพระเจ้าอโศก คือพระเจ้าจันทรคุปต์ ก็กําลังพยายามจะเข้ายึดอํานาจแคว้นมคธ จึงมีความคิดเกิดขึ้นว่า ถ้าทั้งสองฝ่ายมารวมเป็นพันธมิตรกัน และช่วยกันรบ ก็จะเอาชนะแคว้นมคธได้

ทั้งสองฝ่ายมีผลประโยชน์ร่วมกัน พระเจ้าอเลกซานเดอร์ ก็คิดว่า ถ้าได้คนอินเดียเองมาช่วย การรบก็จะมีกําลังทําให้สําเร็จง่ายขึ้น ฝ่ายจันทรคุปต์ก็เช่นเดียวกัน คิดว่าถ้าได้อาศัยฝ่ายอเลกซานเดอร์มาช่วย ก็จะสามารถรบชนะได้ เพราะตนมีกําลังไม่พอ ทั้งสองฝ่ายมีความคิดร่วมกันอย่างนี้ ก็นัดพับกัน

พอพบกัน ก็เกิดมีปัญหาว่าใครจะเคารพใครก่อน ทั้งสองฝ่ายต่างก็ถือตัวไม่ยอมเคารพก่อน ฝ่ายจันทรคุปต์ (พวกกรีกเรียกว่า Sandrocotus หรือ Sandracottos) เข้าไปในเขตอํานาจของพระเจ้า อเลกซานเดอร์ เพราะเขาไปพบในค่ายของเขา พระเจ้าอเลกซานเดอร์ก็สั่งจับ เอาจันทรคุปต์ เข้าคุกขังไว้ แต่มีเรื่องเล่าว่า ต่อมาจันทรคุปต์หนี ออกไปได้และมีนิยายอิงประวัติศาสตร์เล่าเรื่องที่จันทรคุปต์หนีออกมา

ส่วนทางฝ่ายพระเจ้าอเลกซานเดอร์เอง คิดไปคิดมาอย่างไรไม่ทราบ ก็ยกทพกลับไปแล้วก็ไปสวรรคตกลางทาง

ดินแดนที่พระเจ้าอเลกซานเดอร์ตีได้ พระองค์ก็ทิ้งแม่ทัพนายกองไว้ให้ปกครอง แม่ทัพนายกองเหล่านั้น ต่อมาก็ยกตัวขึ้นเป็นพระเจ้า แผ่นดิน เป็นแคว้นต่างๆ หลายแคว้น

แคว้นหนึ่งที่มีชื่อเสียงสืบต่อกันมา ซึ่งชาวพุทธรู้จักกันมาก ก็คือ แคว้นโยนก ของพระเจ้าเมนานเดอร์ (Menander บางทีเขียนเป็น Minedra บ้าง Menadra บ้าง) เรียกเป็นภาษาบาลีว่า พระเจ้ามิลินท์ ซึ่งหันมานับถือพุทธศาสนาในสมัยพุทธศักราชประมาณ ๕๐๐ ปี (มิลินฺท.๒; แต่นักประวัติศาสตร์ฝรั่งว่าประมาณ พ.ศ. ๔๐๐)

พระเจ้ามิลินท์เป็นกษัตริย์เชื้อชาติกรีก ในราชวงศ์ที่สืบมาจากแม่ทัพกรีก ที่พระเจ้าอเลกซานเดอร์ทิ้งไว้ครองราชย์ที่เมืองสาคละ

นักประวัติศาสตร์ว่าเป็นราชาแห่งประเทศแบกเตรีย (king of Bactria) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอาฟกานิสถาน ในคัมภีร์บาลีเรียกว่าแคว้นโยนก และถือกันว่าเป็นกษัตริย์อินเดียเชื้อสายกรีกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด (the greatest of the Indo-Greek kings — Encycl. Britannica 1988, vol. 8, p.1)

พญามิลินท์นี่ เป็นเรื่องสมัยหลังสืบมาอีกนาน คือยุคใกล้ พ.ศ. ๕๐๐

ที่มา จาริกบุญ จารึกธรรม โดย ป.อ.ปยุตฺโต

ตักสิลา
ตักสิลา (บาลี = ตกฺกสิลา; สันสกฤต = ตกฺษศิลา; ฝรั่งเขียนตามกรีก = Taxila) ชื่อนครหลวงแห่งแคว้นคันธาระ ซึ่งเป็นแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นแห่งชมพูทวีป ตักสิลามีมาแต่ดึกดำบรรพ์ก่อนพุทธกาล เคยรุ่งเรืองด้วยศิลปวิทยาต่าง ๆ เป็นสถานที่มี่ชื่อเสียงที่สุดในการศึกษายุคโบราณเรียกกันว่า เป็นเมืองมหาวิทยาลัย สันนิษฐานกันว่า บัดนี้ อยู่ในเขตราวัลปินดิ ในแคว้นปัญจาบ ประเทศปากีสถาน

ตักสิลาเป็นราชธานีที่มั่งคั่งรุ่งเรืองสืบต่อกันมาหลายศตวรรษ ตั้งแต่ก่อนพุทธกาลจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๑ มีเรื่องราวเล่าไว้ในชาดกเป็นอันมาก ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ตักสิลาเป็นศูนย์กลางการศึกษามีสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ สั่งสอนศิลปวิทยาต่าง ๆ แก่ศิษย์ซึ่งเดินทางมาเล่าเรียนจากทุกถิ่นในชมพูทวีป แต่ในยุคก่อนพุทธกาลชนวรรณะสูงเท่านั้นจึงมีสิทธิเข้าเรียนได้ บุคคลสำคัญและมีชื่อเสียงหลายท่านในสมัยพุทธกาลสำเร็จการศึกษาจากนครตักสิลา เช่น พระเจ้าปเสนทิโกศล เจ้ามหาลิลิจฉวี พันธุลเสนาบดี หมอชีวกโกมารภัจ และองคุลิมาล เป็นต้น

ต่อมาภายหลังพุทธกาล ตักสิลาได้ถูกพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชกษัตริย์กรีกยึดครอง มีหนังสือที่คนชาติกรีกกล่าวถึงขนบธรรมเนียมประเพณีของเมืองตักสิลา เช่นว่าประชาชนชาวตักสิลา ถ้าเป็นคนยากจนไม่สามารถจะปลูกฝังธิดาให้มีเหย้า เรือนตามประเพณีได้ ก็นำธิดาไปขายที่ตลาดโดยเป่าสังข์ตีกลองเป็นอาณัติสัญญาณ ประชาชนก็พากันมาล้อมดู ถ้าผู้ใดชอบใจก็ตกลงราคากันนำไปเป็นภรรยา หญิงที่สามีตายจะต้องเผาตัวตายไปกับสามี

นับแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นต้นมา ตักสิลาได้เป็นนครที่รุ่งเรืองด้วยพระพุทธศาสนาซึ่งเจริญขึ้นมาเคียงข้างศาสนาฮินดู เป็นแหล่งสำคัญแห่งหนึ่งของการศึกษาพระพุทธศาสนา ดังมีซากสถูปเจดีย์ วัดวาอาราม และประติมากรรมแบบศิลปะคันธาระจำนวนมากปรากฏเป็นหลักฐาน

ต่อมาราว พ.ศ. ๙๔๓ หลวงจีนฟาเหียนได้มาสืบพระพุทธศาสนาในอินเดีย ยังได้มานมัสการพระสถูปเจดีย์ที่เมืองตักสิลา แสดงว่าเมืองตักสิลายังคงบริบูรณ์ดีอยู่ แต่ต่อมาราว พ.ศ. ๑๐๕๐ ชนชาติฮั่นยกมาตีอินเดียและได้ทำลายพระพุทธศาสนา ทำให้เมืองตักสิลาพินาศสาปสูญไป ครั้นถึง พ.ศ. ๑๑๘๖ หลวงจีนเหี้ยนจัง(พระถังซัมจั๋ง) มาสืบพระพุทธศาสนาในอินเดีย กล่าวว่าเมืองตักสิลาตกอยู่ในสภาพเสื่อมโทรม เป็นเพียงเมืองหนึ่งที่ขึ้นอยู่ในแคว้นกัษมีระ โบสถ์วิหารสถานศึกษา และปูชนียสถานถูกทำลายหมด จากนั้นมาก็ไม่ปรากฏเรื่องเมืองตักสิลาอีก

ที่มา. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย ป.อ. ประยุตฺโต

กุษาณทางฝ่ายเหนือ กับสาตวาหนะในฝ่ายใต้
กุษาณทางฝ่ายเหนือ กับสาตวาหนะในฝ่ายใต้ เป็นอาณาจักรร่วมสมัย ที่นับคร่าวๆ ว่าเริ่มต้นและสิ้นสุด ในช่วงสมัยเดียวกัน (เริ่มในช่วง พ.ศ. ๓๐๐-๔๐๐ แล้ว สาตวาหนะสิ้น พ.ศ. ๗๔๓ กุษาณสิ้น พ.ศ. ๗๖๓

128 BC (ตามฝรั่ง=พ.ศ. ๓๕๕ นับอย่างเรา=พ.ศ. ๔๑๕) หันกลับไปดูทางฝ่ายเหนือ อาณาจักรบากเตรีย คือโยนก ถูกชนเผ่าต่างๆ จากอาเซียกลางรุกรานเข้ามา เป็นระลอก เริ่มแต่พวกศกะ จนในที่สุดได้ตกเป็นของ อาณาจักรกุษาณ ที่รุ่งเรืองต่อมา

ระหว่างนี้ ราชวงศ์ศุงคะ นอกจากอาณาจักรหด เล็กลงมากเพราะดินแดนใต้แม่น้ำนัมมทาลงไปได้ตกเป็น ของอาณาจักรฝ่ายใต้ของราชวงศ์สาตวาหนะ (ที่เกิดขึ้น ใหม่ในระยะที่มคธของราชวงศ์โมริยะกำลังแตกสลาย) แล้วก็อ่อนกำลังลงอีก เพราะต้องตั้งรับทัพกรีกโยนกอยู่เรื่อยๆ ต่อมาภายในก็เกิดปัญหาจนถูกกำจัดสิ้นวงศ์ใน พ.ศ. ๔๑๐ (73 BC)

เมื่อบากเตรีย/โยนกหมดอำนาจ และศุงคะสิ้น วงศ์แล้ว ชมพูทวีปก็มีอาณาจักรยิ่งใหญ่อยู่ ๒ คือ กุษาณ ทางฝ่ายเหนือ และสาตวาหนะในฝ่ายใต้

กุษาณได้แผ่อำนาจเข้าแทนที่กษัตริย์กรีกโยนก โดยขยายอาณาจักรลงมาจนถึงเมือง มถุรา (ใต้กรุงเดลี ลงมา ๑๓๗ กม. เยื้องไปทางตะวันออกเล็กน้อย ในยุคใกล้พุทธกาล มถุราเป็นเมืองหลวงของแคว้นสุรเสนะ)

มถุรานอกจากเป็นศูนย์อำนาจของกุษาณในแถบ ล่างแล้ว ก็เป็นถิ่นที่รุ่งเรืองของศิลปะแม่แบบที่เรียกว่า ตระกูลศิลป์แห่งมถุราด้วย โดยเจริญคู่กันมากับศิลปะ แบบคันธาระ และราชวงศ์กุษาณก็ได้อุปถัมภ์บำรุงศิลปะ ทั้งสองสายนั้น

พ.ศ. ๖๒๑ (ฝรั่งว่า ค.ศ. 78=พ.ศ. ๕๖๑) พระเจ้า กนิษกะ กษัตริย์ยิ่งใหญ่ที่สุดของอาณาจักรกุษาณ ขึ้น ครองราชย์ที่เมืองปุรุษปุระ (ปัจจุบัน=Peshwar)

พระเจ้ากนิษกะทรงเป็นพุทธมามกะยิ่งใหญ่ และ ได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามากมาย ทำให้พระ พุทธศาสนาแผ่ไปทางอาเซียกลาง แล้วขยายต่อไปยังจีน เป็นต้น ทรงสืบต่อประเพณีพุทธในการให้เสรีภาพทาง ศาสนา พุทธศิลป์รุ่งเรืองมาก และได้ทรงสร้างมหาสถูป ใหญ่ที่สุด สูง ๖๓๘ ฟุตไว้ที่เมืองปุรุษปุระ พระเจ้ากนิษกะสวรรคตราว พ.ศ. ๖๔๕ (แต่บาง ตำราว่าครองราชย์ถึง ๔๒ ปี) อาณาจักรกุษาณอยู่ต่อมา อีกศตวรรษเศษก็สิ้น

พ.ศ. ๖๔๓ (=ค.ศ. 100) พระเจ้ากนิษกะ ทรง อุปถัมภ์การสังคายนาที่พระสงฆ์นิกายสรวาสติวาทจัด ขึ้นที่เมืองชลันธร (ปัจจุบัน = Jullundur ไม่ไกลจาก Lahore) แต่หลักฐานบางแห่งว่าจัดที่กัศมีระ (แคชเมียร์) หลักฐานฝ่ายจีนว่าได้จารึกพุทธพจน์ลงบนแผ่นทองแดง

สังคายนานี้นับโดยรวมเป็นครั้งที่ ๔ แต่ทาง เถรวาทไม่นับ และนิกายสรวาสติวาทก็นับเป็นครั้งที่ ๓ เพราะไม่นับการสังคายนาสมัยพระเจ้าอโศกฯ

ในสังคายนาครั้งนี้ พระอัศวโฆษ ปราชญ์ใหญ่ยุค แรกของมหายาน (เป็นกวีเอกของชมพูทวีปก่อนกาลิทาส และถือกันว่าเป็นผู้รจนา มหายานศรัทโธทปาทศาสตร์ คือคัมภีร์ว่าด้วยการเกิดขึ้นแห่งศรัทธาในมหายาน และ พุทธจริต) ได้ร่วมจัด และได้กล่าวแสดงหลักธรรมของ มหายานเป็นอันมาก นับว่าเป็นการปรากฏตัวครั้งสำคัญ ของมหายาน และเป็นการที่มหายานยอมรับสังคายนา ครั้งนี้ด้วย กับทั้งถือเป็นจุดเริ่มที่มหายานจะเจริญรุดหน้า ต่อมา แม้นิกายสรวาสติวาทจะสูญไป ก็ถือสังคายนานี้ เสมือนเป็นสังคีติของมหายาน

พ.ศ. ๘๖๓ (ค.ศ. 320) หลังกุษาณสิ้นวงศ์แล้ว และชมพูทวีปปั่นป่วนอยู่ พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ ๑ (ตั้งชื่อ เลียนแบบจันทรคุปต์แห่งโมริยวงศ์) รวบรวมดินแดนชมพู ทวีปแถบเหนือ ฟื้นมคธขึ้นมา ตั้งราชวงศ์ใหม่ชื่อคุปตะ ครองราชย์ที่เมืองปาฏลีบุตร นำอินเดียขึ้นสู่ความรุ่งเรือง อีกครั้งนานราว ๒๒๐ ปี

(เฉพาะในรัชกาลพระเจ้าจันทรคุปต์ที่ ๒ วิกรมาทิตย์ พ.ศ. ๙๒๓-๙๕๘ ได้ตั้งเมืองหลวงที่อโยธยา ซึ่งใน ครั้งโบราณเคยเป็นเมืองหลวงของแคว้นโกศลตั้งแต่สมัย พระรามในเรื่องรามเกียรติ์ คือรามายณะ ก่อนจะย้ายมา ตั้งที่สาวัตถี ส่วนในครั้งพุทธกาล อโยธยามีชื่อว่าสาเกต อยู่ห่างกุสินาราไปทางตะวันตก ๑๗๐ กม.)

ในยุคนี้ ศิลปะแบบคุปตะได้เจริญขึ้นมาแทนที่ ศิลปะแบบคันธาระ-กรีก ที่ค่อยๆ หายไป

กษัตริย์ในราชวงศ์คุปตะ แม้ว่าส่วนใหญ่จะเป็นฮินดู แต่ได้อุปถัมภ์มหาวิทยาลัยนาลันทาอย่างมากใน ฐานะสถานศึกษา

ที่มา กาลานุกรม พระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)


หลักทฤษฏีการสร้างพระพุทธรูป
ช่างชาวอินเดียมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างงานประติมากรรมมาก่อนแต่ในยุคแรกตามคตินิยมของพระพุทธศาสนาไม่นิยมสร้างพระพุทธรูปเพื่อบูชาตามเหตุผลดังกล่าวไว้แล้วในเบื้องต้นต่อมาช่างชาวกรีกได้นำเอาวัฒนธรรมและวิธีการสร้างของทางตะวันตกมาประยุกต์ใช้สร้างพระพุทธรูปเหมือนเช่นที่ตนเคยสร้างเทพเจ้าด้วยเหตุนี้ทั้งพระพุทธรูปและรูปเคารพต่าง ๆในศิลปะคันธาระจึงมีลักษณะหน้าตาเป็นแบบฝรั่งทั้งสิ้นโดยช่างชาวกรีก - โรมันได้ใช้คุณลักษณะ3ประการยึดเป็นเกณฑ์ในการสร้างพระพุทธรูปคือ

1.เนื่องจากเป็นช่างชาวกรีก - โรมันดังนั้นจึงได้ใช้สุนทรียภาพตามแบบฝรั่งเป็นต้นว่าพระพักตร์ของพระพุทธรูปก็ให้งามแบบฝรั่งดังเช่นเทวรูปอพอลโลของกรีก

2.การสร้างกระทำตามแนวคิดในคัมภีร์มหาปุริสลักษณะ

3.เกิดจากความชาญฉลาดของช่างที่ว่าจะทำอย่างไรจึงจะให้ผู้เห็นประติมากรรมแบบนี้แล้วทราบได้ทันทีว่ารูปปั้นดังกล่าวเป็นรูปปั้นของพระพุทธองค์ (ศ.ม.จ.สุภัทรดิศดิศกุล,2528,หน้า29 - 30)

แต่ลักษณะที่ปรากฏออกมานั้นไม่เป็นที่นิยมของชาวอินเดียทั่วไปด้วยเหตุที่ชาวอินเดียยุคนั้นไม่คุ้นเคยในรูปลักษณ์ที่เป็นของต่างชาติข้อสันนิษฐานประการหนึ่งก็อาจจะเป็นเพราะการสร้างรูปเคารพเป็นของใหม่คนอินเดียในยุคแรก ๆจึงไม่กล้าพอที่จะตกแต่งเพิ่มเติมอะไรมากนักซึ่งต่อมาช่างชาวอินเดียจึงได้เขียนตำราเกี่ยวกับการสร้างพระพุทธรูปขึ้นใช้เองโดยยึดเป็นหลักเกณฑ์ทฤษฎีควบคุมการสร้างพระพุทธรูปให้มีพระพุทธลักษณะที่เรียกว่า“ศิลปศาสตร์” มีดังนี้

1.หลักเกณฑ์“มุทรา”(Mudras)หรือ“ทิพย์กิริยา”ที่แสดงปางต่าง ๆของพระพุทธรูปและรูปเคารพของฮินดูเป็นหลักเกณฑ์ว่าด้วยการจัดท่าทางของพระกรพระพักตร์และพระบาท

2.หลักเกณฑ์“ภังคะ”(Bhanga)เป็นหลักเกณฑ์การแสดงอิริยาบถของพระพุทธรูปและเทวรูปโดยการบิดเอี้ยวพระเศียรพระวรกายและส่วนล่างของพระวรกายเพื่อช่วยแสดงความหมายของปางต่าง ๆให้เด่นชัดยิ่งขึ้น

3.หลักเกณฑ์“คุณะ”(Khuna)หรือ“คุณลักษณะ”เป็นหลักเกณฑ์ที่ศิลปะศาสตร์วางไว้ในการสร้างพระพุทธรูปและเทวรูปที่จะต้องสร้างขึ้นให้เหมาะสมเช่นพระพุทธรูปปางสมาธิก็ต้องให้มีคุณลักษณะดูแล้วให้เกิดความรู้สึกจิตสงบเพ่งทางญาณจริงๆ (จิตรบัวบุศย์,2503,หน้าก - ง)

นอกจากคัมภีร์ตารา“ศิลปศาสตร์”แล้วในสมัยคุปตะยังได้มีการแต่งคัมภีร์ตารา“มานะสารศิลปศาสตร์”หรือ“ตาราศิลปะ”ที่สกุลศิลปินต่าง ๆนับถือกันทุกสมัยตลอดจนกระทั่งปัจจุบันนี้และเข้าใจกันว่าสมัยนั้นใช้เป็นตำราสอนกันในมหาวิทยาลัยนาลันทาด้วยจะเห็นได้ว่าการที่มีช่างใช้หลักเกณฑ์หรือทฤษฎีที่ใช้ควบคุมการออกแบบสร้างพระพุทธรูปต่างก็มีจุดประสงค์เพื่อให้มีพระพุทธรูปมีพุทธลักษณะที่เหมาะสมงดงามตามมหาปุริสลักษณะเป็นที่ตั้งของความเคารพเลื่อมใสศรัทธาและเป็นที่ยอมรับของพุทธศาสนิกชนตามสถานที่ที่พระพุทธศาสนาประดิษฐานอยู่ในแต่ละท้องถิ่น

ที่มา..พระพุทธรูป :สัญลักษณ์แห่งศรัทธาที่มีต่อพระพุทธเจ้า โดย พระมหาสมเจตสมจารี(หลวงกัน)

ประเด็นพระพุทธรูปสร้างในยุคของใคร
- ประเด็นที่เชื่อว่าเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้ามิลินท์ทรงเป็นกษัตริย์เชื้อสายกรีกปกครองอินเดียในแคว้นคันธาระนับเป็นยุคแรกแห่งการสร้างพระพุทธรูปพุทธลักษณะของพระพุทธรูปจะมีดวงพระพักตร์คล้ายคลึงกับเทวรูปจนบางครั้งปรากฏทาเป็นพระมัสสุบนพระโอษฐ์พระเศียรทำเป็นพระเกตุมาลาเพื่อให้แตกต่างจากรูปพระสาวกพระเกศาทำเป็นลักษณะมุ่นเกล้าดังเช่นพระเกศาของพระมหากษัตริย์ในยุคนั้นผ้ากาสาวพัสตร์ทำเป็นรอยกลีบย่น

- อีกประเด็นหนึ่งเชื่อว่าเกิดในสมัยพระเจ้ากนิษกะมหาราชกษัตริย์ผู้ปกครองอินเดียภาคเหนือโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปุรุษปุระหรือเปชวาร์พระองค์เป็นเอกอัครศาสนูปถัมภกเช่นเดียวกับพระเจ้าอโศกมหาราชแต่ทรงเลื่อมใสพุทธศาสนาลัทธิมหายานมิใช่แบบเถรวาทดังที่พระเจ้าอโศกทรงนับถือ (ศ.ม.จ.สุภัทรดิศดิศกุล,2528,หน้า28)

ที่มา..พระพุทธรูป :สัญลักษณ์แห่งศรัทธาที่มีต่อพระพุทธเจ้า โดย พระมหาสมเจตสมจารี (หลวงกัน)

สาคละนคร แคว้นมัจฉะ
นครสาคละ เมืองสาคละ หรือสาคล (สากล,สกล) เคยเป็นนครหนึ่งของอินเดียโบราณ ต่อมาในปัจจุบันคือเมืองซิอัลโกต ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศปากีสถาน ในแคว้นปัญจาบ

ในอดีตเคยเป็นเมืองหลวงของแคว้นมัจฉะ เมืองนี้ เป็นต้นกำเนิดตำนาน มิลินทปัญหา โดยเป็นเรื่องสมัยหลังพุทธกาล 500 ปี มีกษัตริย์ชาวกรีกนามว่า เมร์นันเดอร์ หรือ นามบาลีว่า มหาราชมิลินท์ ได้ยกทัพมาที่แคว้นสาคละแห่งนี้ และ สามารถยึดครองเมืองได้ และ ด้วยทิฐิมานะของพระเจ้ามิลินท์ว่าตนเชี่ยวชาญศาสนาและคัมภีร์ จึงให้ทหารนำตัวนักบวชลัทธิต่างรวมถึงพระสงฆ์มาตอบคำถามธรรมของพระเจ้ามิลินท์ แต่ถ้านักบวชท่านนั้นตอบไม่ได้ก็จะถูกจับประหาร เหล่า พระสงฆ์ พรามหณ์ โยคี ต่างพากันหนีตายไปแคว้นอื่นเมืองอื่น แต่มีพระภิกษุหนุ่มนามว่า นาคเสน อยู่ที่เมืองคนเดียว พระเจ้ามิลินท์จึงให้ทหารนำตัวพระนาคเสนมา แต่พระนาคเสนสามารถปราบทิฐิมานะในตัวของพระเจ้ามิลินท์ได้ และพระเจ้ามิลินท์ก็บรรลุเป็นพระอรหันต์

ที่มา. https://th.wikipedia.org/wiki/สาคละ

สรุป
ชนชาติกรีกเชื่อกันว่าในยุคนั้นมีความเจริญในศิลปะถึงขีดสูงสุดและมีความนิยมในการสร้างรูปเทพเจ้าต่าง ๆเป็นเครื่องสักการบูชาเมื่อกษัตริย์เชื้อสายกรีกที่ปกครองแคว้นคันธาระหันมานับถือพระพุทธศาสนาจึงสร้างพระพุทธรูปขึ้นแทนองค์พระพุทธเจ้าเพื่อสักการบูชาตามแบบที่เคยสร้างรูปเทพเจ้าบูชาตามลัทธิเดิมของตนเมืองคันธาระจึงเป็นแหล่งแรกที่สร้างพระพุทธรูปโดยฝีมือของศิลปินกรีกหรือที่รู้จักกันว่า“ศิลปกรรมแบบคันธาระ” เชื่อกันว่าเป็นศิลปะแบบแรกที่กล้าสร้างพระพุทธรูปขึ้นเป็นรูปมนุษย์

ลักษณะสำคัญทางศิลป์ของพระคันธาระคือ พระพักตร์คล้ายเทพอพอลโล มีเส้นพระเกศาหยิกสลวย (ยังไม่เป็นก้นหอยเหมือนในยุคหลัง) มีรัศมี (Halo) อยู่หลังพระเศียร ตามความเชื่อของกรีกที่ทำรูปปั้นเทพต่างๆ ห่มผ้าคลุมแบบริ้วธรรมชาติ มีอุณาโลมระหว่างคิ้ว มีอุษณีษะศีรษะ (มวยผมโป่งตอนบน) พระกรรณยาว พระพุทธรูปคันธารราฐ มีทั้งที่ทำด้วยปูนปั้น (Stucco) หิน (Stone) หินผลึก (Schist)



แผนที่ตั้งคันธาระ


พระเจ้ากนิษกะมหาราช (The Kanishka statue) พิพิธภัณฑ์เมืองมถุรา (Mathura Museum)


พระพุทธเจ้า / Buddha
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2 / Gandhara, 2nd century A.D.
สถานที่: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย กรุงนิวเดลี

พระพุทธรูปปางยืน / Standing Buddha
กุษาณะ,คริสต์ศตวรรษที่ 2, คันธาระ / Kushana, 2nd century A.D., Gandhara
สถานที่: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย กรุงนิวเดลี

พระพุทธเจ้า / Buddha
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2-3, / Gandhara , 2nd - 3rd century A.D.
สถานที่: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย กรุงนิวเดลี

พระพุทธเจ้า / Buddha
กุษาณะ,คริสต์ศตวรรษที่ 2, คันธาระ / Kushana, 2nd century A.D., Gandhara
หิน / Stone
สถานที่: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย กรุงนิวเดลี

พระพุทธเจ้า / Buddha
กุษาณะ,คริสต์ศตวรรษที่ 110, อหิชฉัตตรา, รัฐยูพี / Kushana, 110th century A.D., Ahichchhatra, U.P.
หิน / Stone สถานที่: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย กรุงนิวเดลี

พระพุทธเจ้า / Buddha
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2-3, / Gandhara, 2nd - 3rd century A.D.
ปูนปั้น/ Stucco
สถานที่: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย กรุงนิวเดลี

พระพุทธเจ้า / Buddha
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2-3, / Gandhara, 2nd - 3rd century A.D.
ปูนปั้น/ Stucco
สถานที่: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย กรุงนิวเดลี

พระพุทธเจ้า / Buddha
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2-3, / Gandhara, 2nd - 3rd century A.D.
ปูนปั้น/ Stucco
สถานที่: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย กรุงนิวเดลี

พระพุทธเจ้า / Buddha
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2-3, / Gandhara, 2nd - 3rd century A.D.
ปูนปั้น/ Stucco
สถานที่: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย กรุงนิวเดลี

พระพุทธเจ้า / Buddha
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2-3, / Gandhara, 2nd - 3rd century A.D.
ปูนปั้น/ Stucco
สถานที่: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย กรุงนิวเดลี

พระพุทธเจ้า / Buddha
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2-3, / Gandhara, 2nd - 3rd century A.D.
ปูนปั้น/ Stucco
สถานที่: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย กรุงนิวเดลี

พระพุทธเจ้า / Buddha
คันธาระ / Gandhara
สถานที่: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย กรุงนิวเดลี

พระโพธิสัตว์ / Bodhisattva
คันธาระ / Gandhara
สถานที่: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย กรุงนิวเดลี

พระโพธิสัตว์ / Bodhisattva
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2-3, / Gandhara, 2nd - 3rd century A.D.
ไม่ทราบที่มา / Provenance Unknown
หินชีสต์ / Schist
สถานที่: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย กรุงนิวเดลี

พระนางสิริมาหามายาทรงสุบินนิมิต / Maya's dream
ประติมากรรมคันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2-3, / Gandhara Scalptures, 2nd - 3rd century A.D.
สถานที่: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย กรุงนิวเดลี

ประติมากรรมคันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2-3, / Gandhara Scalptures, 2nd - 3rd century A.D.
สถานที่: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย กรุงนิวเดลี

Buddha with Naga-Kalika
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2 / Gandhara, 2nd century A.D.
ไม่ทราบที่มา / Provenance Unknown
หิน / Stone
Loan from Meyo College Museum, Ajmer
สถานที่: พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติอินเดีย กรุงนิวเดลี

พระพุทธเจ้า ปางสมาธิ / Buddha in Meditation
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2 / Gandhara, 2nd century C.E.
Loriyan Tangai
สถานที่: พิพิธภัณฑ์อินเดียในกัลกัตตา

พระพุทธเจ้า / Buddha offering protection
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2 / Gandhara, 2nd century C.E.
Loriyan Tangai
สถานที่: พิพิธภัณฑ์อินเดียในกัลกัตตา

พระพุทธเจ้า ปางประทับนั่ง / Seated Buddha
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2 / Gandhara, 2nd century C.E.
มาดัน, เมืองปุรุษปุระ/เปศวาร์ / Mardan, Peshawar
สถานที่: พิพิธภัณฑ์อินเดียในกัลกัตตา

พระพุทธเจ้า ปางประทับยืน / Standing Buddha
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2 / Gandhara, 2nd century C.E.
Loriyan Tangai
สถานที่: พิพิธภัณฑ์อินเดียในกัลกัตตา

พระพุทธเจ้า / Buddha
คันธาระ / Gandhara
สถานที่: พิพิธภัณฑ์อินเดียในกัลกัตตา

พระพุทธเจ้า ปางประทับยืน / Standing Buddha
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2 / Gandhara, 2nd century C.E.
ใกล้ตักศิลา / Shah Dheri, near Taxila
สถานที่: พิพิธภัณฑ์อินเดียในกัลกัตตา
พระพุทธเจ้า ปางประทับยืน / Standing Buddha
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 3 / Gandhara, 3rd century C.E.
Loriyan Tangai
สถานที่: พิพิธภัณฑ์อินเดียในกัลกัตตา

พระโพธิสัตว์ ปางประทับยืน / Standing Bodhisattva
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2 / Gandhara, 2nd century C.E.
Loriyan Tangai
สถานที่: พิพิธภัณฑ์อินเดียในกัลกัตตา

พระศรีอริยเมตไตรย หรือพระเมตไตรย/ Maitreya
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2 / Gandhara, 2nd century C.E.
มาดัน, เมืองปุรุษปุระ/เปศวาร์ / Mardan, Peshawar
สถานที่: พิพิธภัณฑ์อินเดียในกัลกัตตา

พระโพธิสัตว์ ปางประทับยืน / Standing Bodhisattva
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2 / Gandhara, 2nd century C.E.
Jamalgarhi
สถานที่: พิพิธภัณฑ์อินเดียในกัลกัตตา

พระโพธิสัตว์ ปางประทับยืน / Standing Bodhisattva
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2 / Gandhara, 2nd century C.E.
Loriyan Tangai
สถานที่: พิพิธภัณฑ์อินเดียในกัลกัตตา

พระโพธิสัตว์ ปางประทับยืน / Standing Bodhisattva
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2 / Gandhara, 2nd century C.E.
เมืองปุรุษปุระหรือเปศวาร์ /Sahri Bahlol, Peshwar
สถานที่: พิพิธภัณฑ์อินเดียในกัลกัตตา

พระศรีอริยเมตไตรย หรือพระเมตไตรย/ Maitreya
(Inscription on the back)
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2 / Gandhara, 2nd century C.E.
Findspot-Unknown
สถานที่: พิพิธภัณฑ์อินเดียในกัลกัตตา
พระโพธิสัตว์ ปางประทับยืน / Standing Bodhisattva
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2 / Gandhara, 2nd century C.E.
Jamalgarhi
สถานที่: พิพิธภัณฑ์อินเดียในกัลกัตตา

พระศรีอริยเมตไตรย หรือพระเมตไตรย/ Maitreya
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2 / Gandhara, 2nd century C.E.
Loriyan Tangai
สถานที่: พิพิธภัณฑ์อินเดียในกัลกัตตา

พระศรีอริยเมตไตรย หรือพระเมตไตรย/ Maitreya
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2 / Gandhara, 2nd century C.E.
Loriyan Tangai
สถานที่: พิพิธภัณฑ์อินเดียในกัลกัตตา

พระศรีอริยเมตไตรย หรือพระเมตไตรย/ Maitreya
คันธาระ, คริสต์ศตวรรษที่ 2 / Gandhara, 2nd century C.E.
Loriyan Tangai
สถานที่: พิพิธภัณฑ์อินเดียในกัลกัตตา

พระโพธิสัตว์ / Bodhisattva
Loriyan Tangai
สถานที่: พิพิธภัณฑ์อินเดียในกัลกัตตา

ยมกปาฏิหารย์ เมืองสาวัตถี / Miracle of Sravasti
Schist
2nd Cent. CE
พิพิธภัณฑ์ละฮอร์, ปากีสถาน / Lahore Museum








โพธิสิกขาลัย (Bodhisikkhalai)
โทร 0-3587-3065, 085-7777-184 แฟกซ์ 0-3587-3058
Line ID: 0857777184
เว็บไซต์ : www.bodhisikkhalai.com
อีเมล: bodhisikkhalai@gmail.com


Copyright © 2011 All Rights Reserved