ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
เมนูหลัก
ประวัติความเป็นมา
ติดต่อสอบถาม
หนังสือ
เอกสารยื่น ศ.ต.ภ.
พระพุทธรูป, ศิลปะคันธาระ, ศิลปะคุปตะ, ศิลปะปาละ, ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
พระพุทธรูป
ศิลปะคันธาระ
ศิลปะคุปตะ
ศิลปะปาละ
ข้อมูลอินเดียแดนพุทธภูมิ
ข้อมูลแดนพุทธภูมิ
แผนที่แดนพุทธภูมิ
พุทธคยา
ราชคฤห์-นาลันทา
ปัตนะ
ไวสาลี
เกสริยา
กุสินารา
กบิลพัสดุ์
กบิลพัสดุ์ ฝั่งอินเดีย
นิโครธาราม
รามคามสถูป นครเทวทหะ
ลุมพินี
สาวัตถี
สังกัสสนคร
สารนาถ
โกสัมพี
แคว้นอวันตี
Flag Counter
ข้อมูลอินเดีย
ข้อมูลพุทธสถาน
สาญจี
ถ้ำอชันตา
ถ้ำเอลโลร่า
ถ้ำออรังกาบัด
ถ้ำกัณเหรี
อโยธยา
ข้อมูลอินเดีย
ข้อมูลอินเดีย
นิวเดลี
อัครา
ฟาเตห์ปูร์ สิครี
ราชสถาน
หริทวาร, ฤาษีเกษ
จัมมู - แคชเมียร์
เลห์-ลาดักห์
อัมริตสาร์
มะนาลี-ชิมลา
ดารัมชาลา
เมืองลัคเนา
โกลกาตา
สะสาราม
พาราณสี
นิลกาย
มุมไบ
ข้อมูลอินใต้
ข้อมูลอินเดียใต้
รัฐเตลังคานา
เมืองกาญจีปุรัม
ฮัมปิ
ข้อมูลศรีลังกา
ข้อมูลศรีลังกา
ไหว้พระศรีลังกา
ข้อมูลอินโดนีเซีย
ข้อมูลอินโดนีเซีย
บุโรพุทโธ บาหลี
ข้อมูลพม่า
ข้อมูลพม่า
ย่างกุ้ง/ ไจโท้/หงสา/ สิเรียม
มัณฑะเลย์/พุกาม/อินเล/
ข้อมูลสิงคโปร์
ข้อมูลสิงคโปร์
สิงคโปร์
ข้อมูลมาเลเซีย
ข้อมูลมาเลเซีย
มาเลเซีย
ข้อมูลกัมพูชา
ข้อมูลกัมพูชา
เสียมเรียบ/นครวัด/นครธม
ข้อมูลลาว
ข้อมูลลาว
เวียงจันทร์/วังเวียง
หลวงพระบาง
ลาวใต้
ข้อมูลลาว
ข้อมูเวียดนาม
ฮานอย/ซาปา
ดานัง
โฮจิมินห์
ข้อมูลอินเดีย
โปรแกรมทัวร์ เดินทางคนเดี่ยว
สี่สังเวชฯ+อัครา+ราชสถาน+เดลี(21วัน)
สี่สังเวชฯ+สาญจี+อชันตา+เอโลร่า+มุมไบ (14วัน)
สี่สังเวชฯ+อัครา,ทัชมาฮาล+จัยปูร์+เดลี(11วัน)
ข้อมูลลาว
ข้อมูลทวีปยุโรป
กรุงเทพ-ลอนดอน
อิตาลี
อังกฤษ
กบิลพัสดุ์ (Kapilavastu)


กรุงกบิลพัสดุ์
กบิลพัสดุ์ (Kapilavastu) เป็นชื่อเมืองหลวงของแคว้นสักกะ เป็นเมืองของพระเจ้าสุทโธทนะผู้เป็นปกครอง ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล ติดชายแดนตอนเหนือประเทศอินเดีย

กบิลพัสดุ์ แปลตามศัพท์ว่า “ที่อยู่ของกบิลดาบส”เพราะบริเวณที่ตั้งเมืองนี้เคยเป็นที่อยู่อาศัยของดาบสชื่อ กบิล พวกเจ้าศากยะได้มาจับจองตั้งเป็นเมืองขึ้นและตั้งชื่อเมืองใหม่นี้ว่ากบิลพัสดุ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่กบิลดาบส

ในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ นักโบราณคดีได้แกะรอยแนวที่ตั้งของเสาพระเจ้าอโศก และตำนานการสร้างเมืองมาจนพบกับเมืองโบราณร้างชื่อ “ติเลาราโกต” อยู่ในตำแหน่งที่ตรงกับกรุงกบิลพัสดุ์ตามที่ระบุในเอกสารหลายฉบับ “อยู่ทางใต้ของเชิงเขาหิมาลัย ๑๖ กิโลเมตร สวนลุมพินีวันห่างออกไป ๓๕ กิโลเมตร ทางตะวันออก ทางตะวันตกมีลำน้ำสาขาของแม่น้ำคงคาไหลผ่าน”

หลักฐานจากการขุดค้นทางโบราณคดียืนยันว่ามีความเป็นเมืองโบราณตั้งแต่ก่อนพุทธกาลประมาณ ๑๐๐ ปี และได้ความเจริญต่อเนื่องมาจนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๗ ก่อนที่จะถูกทิ้งร้างไป

ปัจจุบันเมืองโบราณติเลาราโกตแห่งนี้รวมทั้งลุมพินีวันได้รับการประกาศจากยูเนสโกให้นับเป็นมรดกโลกที่อยู่ในประเทศเนปาล
ในพุทธศตวรรษที่ ๑๐ หลวงจีนฟาเหียน ได้บันทึกว่า ในเมืองกบิลพัสดุ์ พบแต่สิ่งปรักหักพัง และในครั้งนั้น มีพระภิกษุอยู่จำนวนน้อย มีพระสถูปปรากฏ

ในพุทธศตวรรษที่ ๑๓ พระถังซัมจั๋ง ได้พรรณนา เมืองกบิลพัสดุ์ มีอาณาเขตโดยรอบ ประมาณ ๔๐๐๐ ลี้ เขตนครหลวงโดยรอบ ประมาณ๑๐๐๐ ลี้ เป็นที่ร้าง ซากปรักหักพัง กำแพงพระราชวัง โดยรอบราว ๑๕ ลี้ เหลือแต่ฐาน ก่อด้วยอิฐแข็งแรงมาก

ภายในนั้น ยังมีฐานพระราชวังของพระเจ้าสุทโธทนะ (พระพุทธบิดา) แต่ได้สร้างปราสาทขึ้นไว้ ณ ที่นั้น และได้ประดิษฐาน พระรูปของพระมหากษัตริย์พระองค์นั้น ด้านเหนือมีฐานเดิม ห้องบรรทม ของพระนางมหามายา (พระพุทธมารดา) และได้สร้างปราสาทขึ้น ทั้งมีพระรูปของพระนาง ประดิษฐานไว้เช่นเดียวกัน

ข้างปราสาทนี้ ยังมีปราสาทอีกแห่งหนึ่ง เป็นอนุสาวรีย์ พระศากยมุนีโพธิสัตว์ เมื่อเสด็จสู่ปฏิสนธิในมาตุคัพโภทร (ตามที่พระพุทธมารดา ทรงสุบิน) และมีรูปแสดงไว้ด้วย (ภาพวาดที่ฝาผนัง)

ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มีสถูป อันเป็นที่ซึ่งพระอสิตดาบส ทำนายลักษณะ พระมหาบุรุษราชกุมาร เบื้องซ้ายขวาของเมือง เป็นที่ซึ่งพระราชโอรส ประลองศิลปศาสตร์ ในท่ามกลางวงศ์ศากยราช อีกแห่งหนึ่งเป็นที่ซึ่งทรงม้า ออกจากราชธานี (สู่มหาภิเนษกรมณ์) กับยังมีแห่งอื่นๆ อันเป็นที่ได้ทอดพระเนตร เห็นคนชรา คนป่วย คนถึงมรณกรรม กับพระสมณะ แล้วเสด็จกลับ ด้วยพระหฤทัย เหนื่อยหน่ายในโลกิยวิสัย” ต่อจากนั้น พระถังซัมจั๋ง ได้เดินทางไปตามป่าทึบ ทางทิศตะวันออก ประมาณ ๕๐๐ ลี้ ถึงรามคาม อันเป็นถิ่น มีผู้คนอาศัยอยู่น้อย ด้านตะวันออก ของเมืองเก่า มีสถูปก่อด้วยอิฐสูง ๑๐๐ เฉี้ยะ เป็นที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้รับส่วนแบ่งมาจากโทณพราหมณ์

พุทธประวัติบางตอน :
ชมพูทวีป
ชมพูทวีป คือ ดินแดนที่เรียกในอดีต ปัจจุบันได้แก่ ประเทศอินเดีย เนปาล อัฟกานิสถาน ปากีสถาน บังคลาเทศ และพม่าบางส่วน อยู่ทางทิศพายัพของไทย

ชนเผ่า
ชนชาติมี ๒ เผ่า คือ
๑. มิลักขะ
๒. อริยกะ
ชาวมิลักขะ ชนเผ่าได้ตั้งถิ่นฐานอยู่เดิมแล้ว ส่วนอริยกะ อพยพลงมาทางเหนือข้ามภูเขาหิมาลัย และอาศัยความเจริญทางวัฒนธรรมมีอำนาจเหนือกว่าขับไล่มิลักขะให้ถอยร่นออกไป นักประวัติศาสตร์ชาวรัสเซียได้ทำการ ศึกษาเรื่องราวของพระพุทธศาสนาในรัสเซียพบว่า บรรพบุรุษผู้สืบเชื้อสายชนชาติอริยกะหรืออารยัน
ซึ่งเป็นเชื้อสายของบรรพบุรุษของพระพุทธองค์ได้อพยพมาจากแถบแม่น้ำโวลก้า ลงสู่เทือกเขาคอเคซัส ในประเทศรัสเซีย เข้าสู่ประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถานและชมพูทวีป

ชนบทประเทศ
ชนบทประเทศ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนคือ
๑. มัชฌิมชนบทหรือมัธยมประเทศ ได้แก่ ส่วนกลาง เป็นที่อยู่ อริยกะ
๒. ปัจจันตชนบทหรือปัจจันตประเทศ ได้แก่ รอบนอกขอบชายแดน เป็นที่อยู่ของมิลักขะ
แคว้น
ชมพูทวีปมี ๑๖ แคว้น ได้แก่ อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจตี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ และกัมโพชะ แคว้นที่นอกเหนือข้างต้นมี ๕ แคว้น ได้แก่ สักกะ โกลิยะ ภัคคะ วิเทหะ อังคุตตราปะ

วรรณะ
วรรณะเป็นชนชั้นมี ๔ ประเภท คือ
๑. กษัตริย์ ศึกษายุทธวิธี มีหน้าที่ปกครอง
๒. พราหมณ์ ศึกษาพระเวท มีหน้าที่อบรมสั่งสอน พิธีกรรม
๓. แพศย์ ศึกษาการพานิชย์ มีหน้าที่การค้าขาย
๔. ศูทร ศึกษาการใช้แรงงาน มีหน้าที่เป็นกรรมกร
วรรณะสูงสมสู่กับวรรณะต่ำลูกที่เกิดมาเรียกว่า “จัณฑาล” เป็นที่ เหยียดหยามของสังคม

ความคิดเห็น
ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตายการเกิดมี ๒ ประการ
๑. ถือว่าตายแล้วเกิด
๒. ถือว่าตายแล้วสูญ (มี ๒ อย่างคือ สูญทุกอย่าง และสูญบาง อย่าง)
เกี่ยวกับความสุขความทุกข์ มี ๒ ประการ
๑. ได้รับสุขทุกข์ ได้เอง ไม่มีเหตุปัจจัย
๒. ได้รับสุขทุกข์ มีเหตุปัจจัย (เห็นแตกออกไป ๒ อย่าง คือเหตุภาย นอกเช่น เทวดา เหตุภายในคือกรรม)

ศากยวงศ์
สักกชนบท อยู่ในดงไม้สักกะเป็นเขตป่าหิมพานต์ ตอนเหนือ ของชมพูทวีป มีกษัตริย์พระนามว่า พระเจ้าโอกกากราช มีโอรส ๔ พระองค์ ธิดา ๕ พระองค์ พระมเหสีสิ้นพระชนม์ มีพระมเหสีองค์ใหม่ มีพระโอรส ๑ พระองค์ เป็นที่โปรดปราน พระองค์พลั้งปากพูดว่า พระนางต้องการสิ่งใด จะประทานพรให้ พระนางจึงทูลขอพระราชสมบัติให้กับโอรสของพระนางเอง บุตรธิดาทั้ง ๙ พระองค์ จึงได้ย้ายไปสร้างเมืองใหม่ อันเป็น ที่อยู่ของกบิลดาบส สร้างขึ้นตามคำแนะนำของท่านจึงได้ชื่อว่า กบิลพัสดุ์

ต่อมาโอรสธิดาได้อภิเษกสมรสสมสู่กันระหว่างพี่น้อง ยกเว้นพี่สาวคนโต วงศ์นี้ได้นามว่า ศากยวงศ์ เพราะตั้งอยู่ในสักกชนบท พี่สมสู่กันเอง เรียกสกสังวาส และสักกา คือ ผู้อาจหาญ สามารถ มีกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ซึ่งเคยเป็นโรคเรื้อนอาศัยกินอยู่ในป่าต้นไม้กะเบาจนทำให้โรคหาย ต่อมาได้อภิเษกสมรสกับพระเชษฐภคินี (พี่สาวคนโต) มีพระนครนามว่า กรุงเทวทหะ ตั้งวงศ์โกลิยะสืบต่อมาศากยวงศ์สืบเชื้อสายเรื่อยมาจนถึงพระจ้าชยเสนะ พระเจ้าสีหหนุ พระเจ้าสุทโธทนะ และมีพระโอรสชื่อว่า เจ้าชายสิทธัตถะ

๓ วัน กาฬเทวิลดาบสเข้าเยี่ยม
กาฬเทวิลดาบสหรือ “อชิตะ” สู่ราชสำนักเข้าเยี่ยม พอได้เห็น พระราชกุมารถูกต้องตามตำรามหาบุรุษลักษณะ ดีใจอย่างมาก จึงก้มกราบ พระกุมาร พระเจ้าสุทโธทนะพอเห็นเช่นนั้นก็อภิวาทตาม และอชิตดาบสได้ร้องไห้เพราะว่าตนเองอายุมากแล้ว ไม่ได้ทันเห็นการตรัสรู้ของพระราช กุมารได้ไปบ้านน้องสาวสั่งหลานชื่อว่า นาลกะ “ถ้าโตขึ้นให้ออกบวชตามพระมหาบุรุษ”

๕ วัน ขนานพระนาม
พระเจ้าสุทโธทนะเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ มาเลี้ยงโภชนาหาร คัดเลือก พราหมณ์ให้เหลือ ๘ คน คือ ๑. รามพราหมณ์ ๒. ลักษณพราหมณ์ ๓. ยัญญพราหมณ์ ๔. ธชพราหมณ์ ๕. โภชพราหมณ์ ๖. สุทัตตพราหมณ์ ๗. สุยามพราหมณ์ ๘. โกณฑัญญพราหมณ์
พราหมณ์ ๗ คนแรกชู ๒ นิ้ว ทำนายลักษณะเป็น ๒ ทางคือ
๑. ถ้าอยู่ครองฆราวาส จักเป็นจักรพรรดิราชผู้ยิ่งใหญ่
๒. ถ้าออกบวช จักได้บรรลุธรรม เป็นศาสดาเอกของโลก
มีเพียงโกณฑัญญพราหมณ์ หนุ่มน้อยชูเพียงนิ้วเดียวว่า “พระองค์ จักออกบวช ได้ตรัสรู้ เป็นศาสดาเอกในโลก ขนานพระนามว่า “สิทธัตถะ” คือ ผู้มีความสำเร็จในสิ่งที่ตนตั้งใจ
“โคตมะ” มหาชนเรียกตามพระโคตร
“อังคีรส” เพราะฉัพพรรณรังสีซ่านออกจากกาย

๗ วัน พระมารดาทิวงคต
สิทธัตถะราชกุมาร ประสูติได้ ๗ วัน พระมารดาเสด็จทิวงคต ตามครรลองที่ไม่ให้สัตว์อื่นได้ร่วมพระครรภ์ และได้บังเกิดเป็นเทพบุตร ในสวรรค์ชั้นดุสิต พระนางปชาบดีโคตมี (พระน้านาง) จึงรับเลี้ยงดูพระราชกุมารดุจ โอรสแท้ๆ ต่อมาพระนางได้ให้กำเนิดโอรสธิดาคือ นันทะ และรูปะนันทา

ได้ปฐมฌานในวันแรกนาขวัญ
พระพี่เลี้ยงไปดูพิธีแรกนาขวัญกันหมด ปล่อยให้พระองค์ประทับ ภายต้นหว้าลำพังแต่ผู้เดียว ความเงียบสงบทำให้จิตเป็นสมาธิจนได้ปฐมฌาน เงาของใต้ต้นหว้าไม่คล้อยไปตามแสงพระอาทิตย์ พระเจ้าสุทโธทนะ ทรงเห็นเหตุอัศจรรย์ จึงถวายอภิวาทพระราชกุมาร

๗ พรรษา ศึกษาศิลปวิทยา
เจ้าชายสิทธัตถะอายุ ๗ ปี พระราชบิดาสั่งให้ขุดสระโบกขรณี ๓ แห่งคือ สระปทุมบัวหลวง ๑ สระบุณฑริกบัวขาว ๑ สระอุบลบัวขาบ ๑ ได้ศึกษาศิลปวิทยากับครูวิศวามิตร สำเร็จ ๑๘ สาขา มีการรบการยิงธนู เป็นต้น ได้ทำการแสดงยิงธนูต่อเหล่าประยูรญาติอย่างเก่งกาจสามารถ งดงามเสียงธนูนั้นดังกระหึ่มไปทั่วพระนคร

๑๖ พรรษา อภิเษกสมรส
เจ้าชายสิทธัตถะอายุ ๑๖ ปี พระราชบิดา มีรับสั่งให้สร้างปราสาท ๓ หลัง ไว้สำหรับประทับใน ๓ ฤดู สู่ขอพระนางพิมพาหรือยโสธรา ราชธิดาพระเจ้าสุปปพุทธะแห่งกรุงเทวทหะมาเป็นพระชายา เสวยสุข มีดนตรีประโคม ล้วนด้วยสตรี ไม่มีบุรุษเจือปน

เห็นเทวทูต ๔
สิทธัตถะราชกุมารเสด็จยังพระนคร ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต ๔ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ ที่เทวดาเนรมิตไว้

๒๙ พรรษา กำเนิดพระราหุล และออกบวช
กลับจากประพาสพระนครแล้ว ได้ยินพระนางยโสธราให้ประสูติ ของพระโอรส พระองค์ทรงอุทานว่า “ราหุลํ ชาตํ” แปลว่า บ่วงเกิดแล้ว พระกุมารจึงได้พระนามว่า ราหุล ในอรรถกถาได้กล่าวไว้พระองค์เสด็จหนีตอนกลางคืน ทรงม้ากัณฐกะ มีนายฉันนะติดตาม พอถึงริมฝั่งแม่น้ำอโนมานที ใช้พระขรรค์ตัดพระเมาลีขณะนั้นฆฏิการพรหมได้นำบาตรจีวรมาถวายแล้ว อธิษฐานเพศบรรพชิต สั่งให้ฉันนะนำม้ากลับสู่พระราชวังม้ากัณฐกะ อาลัยในความรักเสียใจจนสิ้นใจ ตายไปบังเกิดเป็นกัณฐกะเทพบุตร ชั้นดาวดึงส์

พุทธประวัติบางตอน:
เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์
พระเจ้าสุทโธทนะพุทธบิดา มีความประสงค์จะทรงได้เห็น พระพุทธเจ้าจึงส่งคณะไป หลายคณะที่ไปฟังธรรมบรรลุเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ทูลเชิญให้เสด็จกลับ จึงตรัสสั่งกาฬุทายีอำมาตย์ และได้ทูลขออุปสมบท พอสิ้นฤดูหนาวทูลเชิญพระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสองหมื่นรูป เสด็จกลับออกเดินจากราชคฤห์ถึงกบิลพัสดุ์ ๖๐ โยชน์ เดินวันละ ๑ โยชน์ เป็นเวลา ๒ เดือน พอถึงพระนครได้ประทับนิโครธาราม พวกศากยะบางท่านถือตัว ไม่ทำความเคารพ สำแดงปาฏิหาริย์เหาะขึ้นลอยอยู่ในอากาศ ประหนึ่งให้ละอองธุรีบาทหล่นตกลงเศียรของประยูรญาติ พอเห็นปาฏิหาริย์ได้ ประนมมือกราบไหว้ ฝนโบกขรพรรษได้ตกลง เป็นฝนที่มีเม็ดสีแดง เมื่อตกลงมา ผู้ใดปรารถนาให้เปียกก็เปียก ผู้ใดไม่ปรารถนาก็ไม่เปียก ได้ตรัสเรื่อง พระเวสสันดรชาดก เช้ารุ่งขึ้นได้ออกบิณฑบาต พระเจ้าสุทโทธนะได้ออกมาห้ามไว้พระพุทธองค์ได้ตรัสบอกว่า การออกบิณฑบาตเป็นกิจวัตรของสมณะ ได้แสดงธรรมโปรด พระราชบิดาได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน

กลุ่มพระชาวแคว้นสักกะ
นอกจากกลุ่มปัญจวัคคีย์และพระนาลกะ มีอีก ๑๔ รูป คือ พระนันทะ พระราหุล พระภัททิยะ (กาฬิโคธาบัตร) พระอนุรุทธะ พระอานนท์ พระภคุ พระกิมพิละ พระอุบาลี พระเมฆิยะ พระนาคิตะ พระสีวลี พระปุณณมมันตาบุตร พระมหาอุทายี และกาฬุทาย

ประวัติพระอนุรุทธะ (ทิพยจุกขุ ตาทิพย์)
พระอนุรุทธะ เป็นพระโอรส อมิโตทนะ ซึ่งเป็นพระอนุชาพระเจ้าสุทโธทนะ เกิดที่เมืองกบิลพัสดุ์ เป็นวรรณะกษัติย์
ไม่รู้จักคำว่า ไม่มี
เจ้าชายอนุรุทธะ ได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากพระยูรญาติ แม้คำว่า ไม่มี ก็ไม่เคยได้ยิน มีเรื่องเล่าว่า เจ้าชายอนุรุทธะไปเล่นกับพระสหาย มีกติกาว่า ถ้าใครแพ้ให้นำขนมมาเลี้ยงเพื่อน เจ้าชายแพ้ถึง ๓ ครั้ง แต่ละครั้งคนรับใช้ต้องนำขนมจากเสด็จแม่มาเลี้ยง พอครั้งที่ ๔ ปรากฏเล่นแพ้ พระมารดาบอกว่า “ขนมไม่มี” เจ้าชายเข้าใจว่าเป็นชื่อขนม
แม่จึงสั่งสอนลูกให้รู้ว่าคำว่า ไม่มีอย่างเป็นไร จึงนำถาดเปล่ามาแล้วปิดฝาด้วยถาดอีกใบหนึ่ง คนรับใช้นำไปให้พระโอรส เทวดาที่สิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูคิดว่า เจ้าชายอนุรุทธะนี้ ได้สร้างบุญบารมีมาแต่ชาติปางก่อน ถวายอาหารที่ตนกำลังบริโภคแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่าอริฏฐะ ตั้งปรารถนาว่า ขออย่าได้ยินคำว่า “ไม่มี” จึงเนรมิตขนมทิพย์จนเต็มถาด ตอนหลังจึงขอกินขนมไม่มีอีก เพราะมีรสชาติอร่อย พระมารดาจึงนำถาดเปล่าแล้วปิดฝา ปรากฏมีขนมเต็มถาด
มีพี่ชายชื่อเจ้ามหานามศากายะ และกนิษฐภคินีคือ โรหิณี เมื่อพวกศากยกุมารจะพากันออกบวชตามพระพุทธเจ้า ทั้งสองพี่น้องจึงปรึกษาที่จะให้คนพี่หรือน้องออกบวช เจ้าอนุรุทธะไม่ขอบวช เพราะตนเองเป็นสุขุมาลชาติ เจ้ามหานามะ จึงสอนเรื่องการครองเรือน การทำนา การไถ การเก็บเกี่ยว การนวด เป็นต้น เจ้าอนุรุทธะเห็นเป็นความยุ่งยาก จึงขอออกบวชเอง อ้อนวอนพระมารดาอยู่ ๗ วัน แม่ให้ข้อแม้ว่า ถ้าพระสหายบวชจึงจะอนุญาต มีเจ้าศากยะ ๕ พระองค์รวมถึงเจ้าอนุรุทธะ ภิททิยะ อานันทะ ภคุ กิมพิละ และเทวทัต (ฝ่ายโกลิยะ) โดยให้อุบาลีบวชก่อน เพื่อกำจัดขัตติยมานะ

บรรลุพระอรหันต์
ในพรรษาที่บวชนั้นเองก็ได้ทิพจักขุญาณ ได้เรียนกรรมฐานจากพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร เข้าไปสู่ป่าปาจีนวังสมฤคทายวัน ได้ตรึกถึงมหาปุริสวิตก ๗ ประการ พระศาสดาเสด็จไปยังที่อยู่ของพระเถระ แล้วทรงแนะให้ตรึกในข้อที่ ๘ พระองค์เสด็จกลับ บำเพ็ญสมณธรรม ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล
ปฐมเหตุประเพณีการทอดผ้าบังสุกุล – ผ้าป่า
ครั้งหนึ่งพระเถระได้แสวงหาผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) ตามกองขยะกองหยากเยื่อเพื่อทำจีวร อดีตภรรยาเก่าชื่อ ชาลินี เป็นเทพธิดาชั้นดาวดึงส์ ถ้านำถวายด้วยมือตนเองพระเถระไม่รับเป็นแน่ จึงหาอุบายซุกผ้าในกองขยะกองหยากเยื่อ พระเถระเห็นแล้วดึงออกมาพิจารณา นำกลับไปสู่อารามเพื่อทำจีวร พระศาสดาทรงพาพระมหาสาวกมาร่วมทำ จีวรมีพระมหากัสส-ปะพระสารีบุตร พระอานนท์ ส่วนพระภิกษุที่เหลือช่วยกันกรอด้าย พระโมคคัลลานะกับนางเทพธิดาชาลินี ชวนญาติโยมนำอาหารถวายพระศาสดาและภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป การเย็บจีวรของพระอนุรุทธะจึงสำเร็จภายในวันเดียว พุทธบริษัทถือเป็นแบบอย่างในการทอดผ้าบังสุกุล จนถึงปัจจุบันนี้

เอตทัคคะ
ท่านจะพิจารณาตรวจดูสัตวโลกด้วยทิพยจักขุญาณเว้น ไว้ในเวลาฉันภัตตาหารเท่านั้น ท่านมีใจเอื้ออาทรใส่ใจทุกข์สุข ของผู้อื่น พระศาสดาจึงทรงยกย่องท่านว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้ได้ทิพยจักษุญาณ พระเถระนิพพาน ณ ใต้กอไผ่ ใกล้หมู่บ้าน เวฬุวะ แคว้นวัชชี

อดีตชาติและความปรารถนา
ครั้งสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ กุลบุตรนี้กับมหาชนไปยังวิหารเพื่อฟังธรรม เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุผู้มีทิพยจักษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ แม้เราก็พึงเป็นยอดของภิกษุผู้มีจักษุทิพย์ ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้จะมาอุบัติขึ้นในอนาคต และได้ทูลนิมนต์พระศาสดาและภิกษุแสนหนึ่ง เพื่อฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น ได้ทำมหาทานถึง ๗ วัน ถวายผ้าอย่างดี แล้วตั้งความปรารถนาต่อพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรวจดูในอนาคต ทรงทราบว่าความปรารถนาของเขาสำเร็จ จึงตรัสว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ในที่สุดแสนกัปในอนาคต พระพุทธโคดมจักอุบัติขึ้น ท่านจะมีชื่อว่า อนุรุทธะ เป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุ ท่านมุ่งทำแต่กรรมดีตลอดไม่ขาดเลย

เหตุที่ได้ตาทิพย์
หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว สร้างเจดีย์ทองประมาณ ๗ โยชน์ สร้างต้นประทีปหลายพันต้น ในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาพุทธเจ้า ได้บังเกิดในเรือนกุฎุมพีใกล้กรุงพาราณสี เมื่อพระศาสดาปรินิพพาน เมื่อสร้างเจดีย์ประมาณ ๑ โยชน์สำเร็จแล้ว ให้สร้างภาชนะสำริดเป็นอันมากบรรจุเนยใสจนเต็ม ให้วางไส้ตะเกียงเว้นระยะองคุลี ๑ๆ ในท่ามกลาง ให้จุดไฟขึ้นล้อมพระเจดีย์

พบพระปัจเจกพุทธเจ้า ทำบุญจนได้ตำแหน่งเศรษฐี
ในกาลที่พระพุทธเจ้าไม่อุบัติขึ้น เขาได้เกิดเป็นคนเข็ญใจชื่อ อันนภาระ ทำงานในบ้านเศรษฐี วันหนึ่งพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า อุปริฏฐะ ออกจากสมาบัติ พิจารณาว่าจะทำการอนุเคราะห์นายอันนภาระ จึงนำอาหารที่ตนเก็บไว้ทาน ใส่บาตรพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ธรรมดาบิณฑบาตที่ถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ที่ออกจากนิโรธสมาบัติ ย่อมให้ผลในวันนั้น เทวดาที่สิ่งอยู่ที่ฉัตรของสุมนเศรษฐีได้ให้สาธุการ เศรษฐีอยากมีส่วนบุญในบิณฑบาต ได้ให้ทรัพย์พันกหาปณะ เศรษฐีพาไปเฝ้าพระราชา พระราชารับสั่งให้สำรวจดูที่เรือนของเขา ราชบุรุษไปขุด ขุมทรัพย์ได้ผุด จึงได้แต่งตั้งเป็นธนเศรษฐีในพระนครนี้

กรุงกบิลพัสดุ์
เมือง...นครกบิลพัสดุ์ เมือง....กษัตริย์ศากยะองค์ปฐม
เมือง...ตระกูลสมเด็จพระโคดม เมือง....บรมมหาสุดยอดคน
เมือง...ขุดพบบรมสารีริกธาตุ เมือง....ปราสาท ๓ ฤดูร้อน-หนาว-ฝน
เมือง...ฤาษีชำนาญการเวทย์มนต์ เมือง....สืบค้นประวัติศาสตร์โบราณคดี
เมือง...แผ่นดินถิ่นพระอรหันต์ เมือง...ชนก-ชนนีพระศาสดา

ที่มา..คู่มือพระธรรมวิทยากร







โพธิสิกขาลัย (Bodhisikkhalai)
โทร 0-3587-3065, 085-7777-184 แฟกซ์ 0-3587-3058
Line ID: 0857777184
เว็บไซต์ : www.bodhisikkhalai.com
อีเมล: bodhisikkhalai@gmail.com


Copyright © 2011 All Rights Reserved