ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
เมนูหลัก
ประวัติความเป็นมา
ติดต่อสอบถาม
หนังสือ
เอกสารยื่น ศ.ต.ภ.
พระพุทธรูป, ศิลปะคันธาระ, ศิลปะคุปตะ, ศิลปะปาละ, ทัวร์อินเดีย, เที่ยวอินเดีย, ทัวร์สังเวชนียสถาน, ทัวร์แดนพุทธภูมิ, ไหว้พระอินเดีย, tourindia, travelindia
พระพุทธรูป
ศิลปะคันธาระ
ศิลปะคุปตะ
ศิลปะปาละ
ข้อมูลอินเดียแดนพุทธภูมิ
ข้อมูลแดนพุทธภูมิ
แผนที่แดนพุทธภูมิ
พุทธคยา
ราชคฤห์-นาลันทา
ปัตนะ
ไวสาลี
เกสริยา
กุสินารา
กบิลพัสดุ์
กบิลพัสดุ์ ฝั่งอินเดีย
นิโครธาราม
รามคามสถูป นครเทวทหะ
ลุมพินี
สาวัตถี
สังกัสสนคร
สารนาถ
โกสัมพี
แคว้นอวันตี
Flag Counter
ข้อมูลอินเดีย
ข้อมูลพุทธสถาน
สาญจี
ถ้ำอชันตา
ถ้ำเอลโลร่า
ถ้ำออรังกาบัด
ถ้ำกัณเหรี
อโยธยา
ข้อมูลอินเดีย
ข้อมูลอินเดีย
นิวเดลี
อัครา
ฟาเตห์ปูร์ สิครี
ราชสถาน
หริทวาร, ฤาษีเกษ
จัมมู - แคชเมียร์
เลห์-ลาดักห์
อัมริตสาร์
มะนาลี-ชิมลา
ดารัมชาลา
เมืองลัคเนา
โกลกาตา
สะสาราม
พาราณสี
นิลกาย
มุมไบ
ข้อมูลอินใต้
ข้อมูลอินเดียใต้
รัฐเตลังคานา
เมืองกาญจีปุรัม
ฮัมปิ
ข้อมูลศรีลังกา
ข้อมูลศรีลังกา
ไหว้พระศรีลังกา
ข้อมูลอินโดนีเซีย
ข้อมูลอินโดนีเซีย
บุโรพุทโธ บาหลี
ข้อมูลพม่า
ข้อมูลพม่า
ย่างกุ้ง/ ไจโท้/หงสา/ สิเรียม
มัณฑะเลย์/พุกาม/อินเล/
ข้อมูลสิงคโปร์
ข้อมูลสิงคโปร์
สิงคโปร์
ข้อมูลมาเลเซีย
ข้อมูลมาเลเซีย
มาเลเซีย
ข้อมูลกัมพูชา
ข้อมูลกัมพูชา
เสียมเรียบ/นครวัด/นครธม
ข้อมูลลาว
ข้อมูลลาว
เวียงจันทร์/วังเวียง
หลวงพระบาง
ลาวใต้
ข้อมูลลาว
ข้อมูเวียดนาม
ฮานอย/ซาปา
ดานัง
โฮจิมินห์
ข้อมูลอินเดีย
โปรแกรมทัวร์ เดินทางคนเดี่ยว
สี่สังเวชฯ+อัครา+ราชสถาน+เดลี(21วัน)
สี่สังเวชฯ+สาญจี+อชันตา+เอโลร่า+มุมไบ (14วัน)
สี่สังเวชฯ+อัครา,ทัชมาฮาล+จัยปูร์+เดลี(11วัน)
ข้อมูลลาว
ข้อมูลทวีปยุโรป
กรุงเทพ-ลอนดอน
อิตาลี
อังกฤษ
ปาฏลีบุตร

ปาฏลีบุตร
ความเป็นมาของเมือง ปาฏลีบุตร
เมืองปาฏลีบุตร หรือปัจจุบันเรียกว่า เมืองปัตนะ เป็นเมืองหลวงของรัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย เป็นรัฐที่ยากจนที่สุดของอินเดีย มีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ ๘๕ ล้านกว่าคน ซึ่งใกล้เคียงกับประชากรคนไทย ในสมัยครั้งพุทธกาลเป็นหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งชื่อว่า ปาฏลิคาม
ด้วยเหตุที่พระเจ้าอชาตศัตรูไม่พอพระทัยเจ้าลิจฉวีแห่งแคว้นวัชชี ปรึกษาหารือกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีคำสั่งให้สุนีธะและวัสสการ พราหมณ์ไปที่หมู่บ้านปาฏลิคาม สร้างเป็นป้อมปราการ เพื่อเป็นเขตแดนกั้นระหว่างมคธกับวัชชี ตลอดจนการตั้งกองกำลังเพื่อปราบแคว้นวัชชีในภายภาคหน้า
พระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ว่า จะประสบภัย ๓ ประการคือ อุทกภัย (น้ำท่วม) อัคคีภัย (ไฟไหม้) และสามัคคีเภท (ความแตกแยก) และเป็นเส้นทางลัดของพระพุทธเจ้าจากราชคฤห์ผ่าน อัมพลัฏฐิกา - นาลันทา - ปาฏลิคาม - โกฏิคาม - ชัมพุคาม - หัตถีคาม - ปาวา- กุสินารา - กบิลพัสดุ์
หลังพุทธกาล ๑๐๐ ปี เศษ ในบรรดา ๑๖ แคว้นแห่งชมพูทวีป มีบางแคว้น ได้ล้มสลายหายไป มีเพียงแต่แคว้นมคธที่ยังคงมีแสนยานุภาพ แผ่ขยายอำนาจอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในสมัยของพระเจ้าอโศกมหาราช

- เหตุการณ์ที่สำคัญ
พ.ศ. ๑๑๔๓ ตกอยู่ในอำนาจการปกครองของแคว้นเบงกอล สมัยของพระเจ้าศศางกา
พ.ศ. ๑๗๖๐ เปลี่ยนชื่อมาเป็น “อชิมาบัด” เพราะมุสลิมได้ทำการยึดการปกครอง
พ.ศ. ๒๑๓๖ อังกฤษยึดครองและเป็นศูนย์กลางขายฝิ่นให้จีน
พ.ศ. ๒๔๓๘ ดร. เวคเดลล์ ได้ทำการขุดค้นได้เสาไม้และเสาหินเป็นจำนวนมาก
พ.ศ. ๒๔๕๕ ดร.อันเตก้า ได้ขุดค้นพบเสาหินใหญ่จำนวน ๒๒๕ ต้น

วัดอโศการาม
วัดอโศการามเป็นวัดที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างถวายเพื่อเป็นพุทธบูชา เพื่อเป็นที่อยู่จำพรรษาแห่งสงฆ์หมู่ใหญ่ เดิมเป็นพระราชอุทยาน และเป็นสถานที่สังคายนาครั้งที่ ๓ วัดอโศการาม คนท้องถิ่นเรียกว่า กุมราหะ ยังมีอารามอีกแห่งคือ กุกกุฏาราม อยู่ทางใต้ของเมืองปาฏลีบุตรเก่า ซึ่งพระอานนท์เคยจำพรรษาบ่อยครั้งมาก

อโรคยาสถาน
อโรคยาสถาน เป็นโรงพยาบาลที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงจัดตั้งขึ้นอยู่ภายในวัดอโศก ปัจจุบันอยู่ใกล้กับเนินดิน

เสาหินศิลา
เป็นเสาหินใหญ่ ที่ดร. อันเตก้า ได้ค้นพบ มีเสาจำนวน ๒๒๕ ต้น ปักเป็น ๘ แถวๆ ละ ๒๕ ต้น ซึ่งอยู่ลึกกว่าระดับพื้นดินทั่วไป ช่วงฤดูฝนจะจมน้ำกลายเป็นสระขนาดใหญ่ สถานแห่งนี้นอกจากจะเป็นสถานที่สังคายนาแล้ว และเสาหินทั้งหมดนี้เป็นเสาท้องพระโรงของพระราชวังที่มอบถวายวัดอโศการาม
พิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์ประจำรัฐพิหาร เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุตามยุคสมัยต่างๆ อาทิเช่น เทวรูป รูปเทพธิดา และอีกข้างหนึ่งจะเก็บรักษา พระพุทธรูป เทวรูป ทั้งบรอนซ์โลหะ ดินเผา เป็นต้น และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ประกอบไปด้วยผอบแก้วผลึก ที่ขุดค้นได้ที่เมืองไวสาลี รัฐบาลพิหารยังเคยอัญเชิญมา ณ พุทธคยา
ตัวเมืองปัตนะปัจจุบัน
ตัวเมืองปัตนะปัจจุบันมีความเจริญตามยุคสมัย มีมหาวิทยาลัย สนามบิน เป็นต้น
ท่าน้ำพุทธโคตมะ
เป็นท่าน้ำที่พระพุทธองค์เสด็จข้ามไปเมืองเวสาลี เพื่อโปรดแคว้นวัชชีในคราวเกิดโรคระบาดทั่วแคว้นวัชชี และทรงเสด็จผ่านอีกหลายครั้ง และปัจจุบันนี้ก็ยังเรียกว่าท่าพุทธโคตัม

สะพานมหาตมะคานธีเสตุ
เสตุ แปลว่า สะพาน เรียกทางการคือ มหาตมะคานธีเสตุ เป็นสะพานที่มียาวมากที่สุดในอินเดีย ราวประมาณ ๗ กิโลเมตร สร้างในสมัยของนายกอินทิราคานธี

ท่าน้ำราเชนสมาธิ
ท่าน้ำราเชนสมาธิ เป็นท่าเผาศพประจำเมืองปัตนะ เป็นการตั้งชื่อตามประธานาธิบดีคนแรกของอินเดียคือ ท่านราเชน คงไม่แตกต่างจากท่าน้ำที่เผาศพที่พาราณสี เพราะแต่ละวันจะมีศพจำนวนมากที่นำมาเผา

ท่าน้ำมหินทฆาต
ท่าน้ำมหินทฆาต เป็นท่าน้ำที่พระมหินทะเถระลงเรือเพื่อไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ศรีลังกา

โกลขา
โกลขา เป็นฉางใส่ข้าว สร้างในสมัยอังกฤษมาปกครอง ลักษณะคล้ายบาตรคว่ำมีบันได ๑๔๒ ขั้น
บ้านเกิดของโกวินทะ
โกวินทะ เป็นศาสดาองค์สุดท้ายของศาสนาซิกข์ อยู่ด้านขวามือของคานธีเสตุเมื่อเดินทางจากปัตนะไปเวสาลี

สังคายนาครั้งที่ ๓ และส่งสมณฑูต
เหตุของการสังคายนา
เหตุของการสังคายนา คือ มีคนต่างศาสนาหรือพวกเดียรถีย์เข้ามาปลอมบวช เพราะลัทธิตนได้เสื่อมจากลาภสักการะ มาเพื่อหวังอาหาร เครื่องนุ่งห่ม บางพวกบูชาไฟ ทรมานตนเองบ้าง และจ้วงจาบพระธรรมวินัย พระสงฆ์ไม่ให้มีการสังฆกรรมร่วมกัน ส่วนพระโมคคัลลี- บุตรติสสะเถระ ไม่อาจจะระงับอธิกรณ์ได้ มอบการปกครองสงฆ์แก่พระมหินทเถระ แล้วปลีกวิเวกไปยังอโธคังคบรรพต ไม่ได้มีการลงอุโบสถถึง ๗ ปี อธิกรณ์ (เรื่อง, คดีความ) ได้ทราบถึงพระราชา แต่ปรากฏว่าอำมาตย์ที่เข้าไประงับอธิกรณ์ กลับฆ่าภิกษุที่ไม่ทำอุโบสถ พอคิวของพระติสสะเถระ อนุชาของพระราชา อำมาตย์จำได้ไม่อาจฟัน ด้วยศาตราวุธได้ พระองค์เสด็จมายังวิหาร ตรัสกับภิกษุว่าโยมมิได้ให้อำมาตย์มาฆ่า บาปนี้จะตกแก่ใครหนอพระคุณเจ้า พระสงฆ์ถวายความเห็นเป็น ๒ นัย แล้วพระภิกษุรูปใดที่ตัดสินข้อสงสัยนี้ได้
พระธรรมกถึกและอำมาตย์อาราธนาถึงสองครั้ง ไม่เป็นผล ครั้งที่ ๓ โดยให้กล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ บัดนี้พระศาสนาได้เสื่อมโทรม ขอพระคุณเจ้าโปรดอนุเคราะห์พวกข้าพเจ้า เพื่อเชิดชูพระศาสนาเถิด พระเถระได้ฟังแล้ว แม้แต่การบวชของเราเพื่อเชิดชูพระศาสนา
ข่าวการมาของพระเถระ ทำให้พระราชาต้องเสด็จโดยพระองค์เองเดินลุยน้ำรับพระเถระ ยื่นแขนให้พระเถระที่กำลังจะขึ้นจากเรือ พระเถระจับพระหัตถ์พระองค์ เหล่าทหารเห็นเช่นนั้น ได้ชักดาบออกจากฝัก ด้วยคิดว่าจะตัดศีรษะพระเถระ เพราะตามจารีต ผู้ใดถูกต้องพระราชา ผู้นั้นจะต้องถูกตัดศีรษะ พระราชาเห็นแสงแห่งดาบแล้ว ตรัสสั่งว่า อย่าได้กระทำผิดในพระเถระเลย เถระถือเราเป็นอันเตวาสิกจึงได้จับมือเรา
เมื่อถึงราชอุทยานทรงล้างเท้าพระเถระ และทาน้ำมันให้ พระองค์ใคร่อยากจะเห็นปาฏิหาริย์
พระเถระทูลว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร อยากเห็นแผ่นดินไหวทั้งหมด หรือกึ่งหนึ่ง
พระราชา ตรัสว่ากึ่งหนึ่งก็ได้พระคุณเจ้า ราชบุรุษขีดเส้นเป็นวงกลม
เถระเข้าจตุตถฌาน ซึ่งเป็นบาทของอภิญญา ออกจากจตุตถฌาน และอธิษฐานจิตให้แผ่นดินไหว ล้อรถ, เท้าของม้า, บุรุษ, น้ำในถาด ทั้งหมดล้วนไหว ส่วนด้านนอกไม่ไหว พระองค์เห็นปาฏิหาริย์แล้ว มั่นใจว่าพระเถระจะยกย่องพระศาสนาไว้ได้เป็นอย่างแน่แท้ พระเจ้าอโศกทรงถามที่ได้ปลงชีวิตภิกษุ บาปจะตกแก่ใคร พระเถระทูลถาม ขอถวายพระพร พระองค์มีความคิดที่จะส่งอำมาตย์ปลงชีวิตภิกษุเหล่านั้นหรือ
พระองค์ตอบว่า ไม่มี พระคุณเจ้า
พระเถระจึงทูลว่า ถ้าพระองค์ไม่มีความคิดเช่นนี้ บาปก็ไม่มีแก่พระองค์
พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ ได้ยก ติตติรชาดก เป็นอุทาหรณ์ คาถาในชาดกมีใจความว่า
“ถ้าใจของท่านไม่ประทุษร้าย กรรมที่อาศัยท่านกระทำ ก็ไม่ถูกต้องท่าน บาปก็ไม่ติดเปื้อนท่านผู้บริสุทธิ์”
พระองค์ทรงเรียนรู้พุทธพจน์ของพระศาสดากับเถระตลอด ๗ วัน
จากนั้นทรงรับสั่งให้นิมนต์ภิกษุมาที่ละหมู่ เพื่อตรัสถาม ถ้าไม่สามารถตอบได้ ให้ทำการสึกเหล่าเดียรถีย์เหล่านั้นเสีย ให้นุ่งขาว เมื่อพระองค์จัดการธุระกับศาสนาเรียบร้อยแล้ว รับสั่งว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า บัดนี้ พระศาสนาบริสุทธิ์แล้ว ขอภิกษุสงฆ์จงทำอุโบสถเถิด ทรงพระราชทานอารักขาแล้ว เสด็จกลับพระนคร
เมื่อสถานการณ์ปกติดีแล้ว ได้ทำสังคายนาพระธรรมและวินัย ชำระมลทินในพระศาสนา คัดเลือกภิกษุที่แตกฉานในปฏิสัมภิทา ประชุมกัน ณ อโศการาม เมืองปาฏลีบุตร
พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นองค์อุปถัมภ์
พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ เป็นประธาน
พระสงฆ์จำนวน ๑,๐๐๐ รูป ล้วนเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ใช้เวลา ๙ เดือนจึงแล้วเสร็จ
ส่งสมณทูตออกเผยแผ่ต่างแดน
ปลายรัชกาลของพระเจ้าอโศกมหาราช หรือพระเจ้าธรรมาโศกราช หลังจากสังคายนาครั้งที่ ๓ พระโมคคัลลีบุตรติสสะเถระ ดำริถึงความตั้งมั่นแห่งพระศาสนา โดยพระเจ้าอโศกมหาราชได้ทำการอุปถัมภ์ ได้ส่งสมณฑูตไปประกาศพระศาสนารวมทั้งหมด ๙ สาย ดังต่อไปนี้
สายที่ ๑ พระมัชฌันติกะ ไปแคว้นกัสมีระ และแคว้นธาระ (แคชเมียร์)
สายที่ ๒ พระมหาเทวะ มหิสมณมณฑล (รัฐไมซอร์ ตอนใต้ของอินเดีย)
สายที่ ๓ พระรักขิตตะ แคว้นวนวาสีประเทศ (อยู่ตอนเหนือของรัฐไมซอร์)
สายที่ ๔ พระธรรมรักขิตะ อปรันตกชนบท (แถบตอนเหนือของบอมเบย์)
สายที่ ๕ พระมหาธรรมรักขิตะ แคว้นมหาราษฎร์ (อยู่แถบปูนา)
สายที่ ๖ พระมหารักขิตะ โยนกประเทศ (ตอนเหนือของอิหร่าน หรือเปอร์เซีย)
สายที่ ๗ พระมัชฌชิมะ ไปหิมวันตะ เชิงเขาหิมาลัย (เนปาล)
สายที่ ๘ พระโสณะกับพระอุตตระ ไปสุวรรณภูมิ (พม่า ไทย หรือเอเชียอาคเนย์)
สายที่ ๙ พระมหินทเถระ ประเทศลังกา (สมัยพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ)
ทุกคณะที่ไปจะมีพระสงฆ์พระเถระร่วมเดินทางด้วยไม่ ต่ำกว่า ๕ รูป เพื่อให้สามารถบวชผู้มีจิตศรัทธาได้ ในชนบทจะมี คณะปัญจวรรค ?
ภาพ : พระสังฆมิตตาเถรี ราชธิดาของพระเจ้าอโศกมหาราชนำต้นศรีมหาโพธิ์ จากพุทธคยามายังเกาะศรีลังกา

พระธรรมทูตสู่ลังกาทวีป
พระธรรมทูตที่เดินทางไปลังกาทวีป (ตัมพปัณณิทวีป) มีพระมหินทเถระ เป็นหัวหน้า คณะอีก ๔ รูป พระอัฏฏิยะ พระอุตติยะ พระสัมพละ พระภัททสาละ รวมทั้งสุมนสามเณร ผู้เป็นโอรสของพระนางสังฆมิตตา และภัณฑุกอุบาสก
ในงานนักขัตฤกษ์ พระราชาประสงค์กีฬาล่าสัตว์ เทวดาองค์หนึ่งคิดอยากให้พระราชาพบพระเถระ จึงแปลงเป็นละมั่งอยู่ไม่ไกลจากพระเถระ พระราชาเห็นจึงตามไป พระมหินทเถระอธิษฐานว่า ขอให้พระราชาเห็นเฉพาะแต่เรา แล้วทูลทักว่า ติสสะ ติสสะ จงเสด็จมาทางนี้ พระราชาสดับแล้ว ครุ่นคิดสักพัก ปกติธรรมดา ชนทั้งหลายไม่กล้าเรียกออกพระนามเช่นนี้ ทำไมสมณะจึงเรียกเรา
ในสมัยนั้นพระเจ้าอโศกมหาราชกับพระเจ้าเทวนัมปิยติสสะ ทรงเป็นสหายที่ไม่เคยพบเห็นกัน (พระอทิฏฐสหาย) ต่างก็ส่งเครื่องบรรณาการถวายแก่กันและกัน พระเจ้าอโศกมหาราชยังฝากพระราชสาสน์ มีใจความว่า “หม่อมฉันได้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ได้แสดงตนเป็นอุบาสกในพระศาสนาแห่งพระศากยบุตรแล้ว ขอพระองค์ท่านจงยังจิตให้เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ขอให้พระองค์ทรงถึงพระรัตนตรัยทั้ง ๓ นั้นว่าเป็นสรณะ ด้วยพระราชศรัทธาเถิด”
พระเจ้าเทวนัมปิยติสสะ ทรงสดับแล้วได้ทิ้งอาวุธ แล้วสนทนาธรรมกับพระเถระ และพระเถระได้ถามปัญหาเพื่อหยั่งทราบปัญญาของพระราชา จึงแสดง จูฬหัตถิปโทปมสูตร จบกถา พระราชาพร้อมด้วยบริพารตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์

ปัตนะ
เมืองปัตนะ ปาฏลีบุตร เมือง...สูงสุดพุทธศาสนา
เมือง...พุทธองค์ข้ามคงคา เมือง...สังคายนาครั้งที่สามปราบอลัชชี
เมือง...นครหลวงรัฐพิหาร เมือง...ฐานจักรพรรดิอโศกศรี
เมือง...โองการฯธรรมคํ้าปฐพี เมือง...บารมีเลิศลํ้าธรรมยาตรา
เมือง...อโศการามนามประเสริฐ เมือง...กำเนิดซิกส์ศาสนา
เมือง...อ้อนวอนแม่ทุรคา เมือง...โกคาร์หอ่าโอ่หอโบราณ
เมือง...สะพานคานธียาวที่สุด เมือง...ธรรมทูต ๙ ทัพขยับฐาน
เมือง...จารึกอโศกยกหลักการ เมือง...ตำนานพุทธพยากรณ์
ที่มา...คู่มือพระธรรมวิทยากร








โพธิสิกขาลัย (Bodhisikkhalai)
โทร 0-3587-3065, 085-7777-184 แฟกซ์ 0-3587-3058
Line ID: 0857777184
เว็บไซต์ : www.bodhisikkhalai.com
อีเมล: bodhisikkhalai@gmail.com


Copyright © 2011 All Rights Reserved